View Surplus on Themeforest, our latest WordPress Theme. Or call us at 1-800-WPEXPLORER-ROCKS.
Englishภาษาไทย

นักลงทุนสัมพันธ์

  • การประกอบธุรกิจ
  • โครงสร้างทางธุรกิจ
  • การกำกับดูแลกิจการ
  • สารจากประธานกรรมการ
  • นโยบายการเปิดเผยข้อมูล
  • ลักษณะการประกอบธุรกิจ
การประกอบธุรกิจ

ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นพลังงานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในชีวิตประจำวัน. เนื่องจากก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม จึงเป็นพลังงานที่มีความต้องการของผู้บริโภค. ดังจะเห็นได้จากปริมาณการใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี, และด้วยวิสัยทัศน์, และประสบการณ์กว่า 40 ปี ของผู้บริหารในธุรกิจพลังงาน ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของเชื้อเพลิงชนิดนี้. และได้มุ่งเน้นพัฒนาธุรกิจก๊าซปิโตรเหลว, ให้ตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้บริโภค.

บริษัทจึงได้มีการขยายคลังก๊าซ LPG. โรงบรรจุก๊าซ LPG, และผลิตถังก๊าซ LPG เข้าสู่ตลาด เพีอให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้บริษัทยังให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าของบริษัท. ในด้านความปลอดภัย, และความรู้ทางเทคนิค. และวิศวกรรม, ที่เกี่ยวข้องกับระบบก๊าซ LPG อีกด้วย.

นอกจากนี้ บริษัทยังมุ่งมั่นที่จะเติบโตอย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต, โดยมีเป้าหมายสำคัญในการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ. เพื่อเสริมความมั่นคงในธุรกิจก๊าซ LPG ของบริษัท, และบริษัทในกลุ่ม.

  • โครงสร้างการถือหุ้น
  • โครงสร้างบริษัท
  • โครงสร้างองค์กร
  • คณะกรรมการบริษัท
  • ผู้บริหาร
โครงสร้างการถือหุ้น
โครงสร้างบริษัท
โครงสร้างองค์กร

คณะกรรมการบริษัท

กรรมการ

นายวรวิทย์ วีรบวรพงศ์ - ประธานกรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัท
แต่งตั้งเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2549

อายุ : 77

 

การศึกษา
• ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
• ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

 

การอบรมบทบาทหน้าที่กรรมการ
• ประกาศนียบัตรสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
• หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP)

 

กรรมการ/ผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียน
• ไม่มี

 

ตำแหน่งในบริษัทอื่น
• กรรมการ | บริษัท ดับบลิว ดับบลิว โฮลดิ้ง จำกัด
• กรรมการ | FAREAST MYGAZ SERVICES SDN.BHD..
• กรรมการ | บริษัท สยามแท้งค์ เทอร์มินัล จำกัด
• กรรมการ | TROPICAL GAS PTE.LTD.
• กรรมการ | บริษัท สยามแอลเอ็นจี จำกัด
• กรรมการ | PACIFIC GAS BANGLADESH LTD..
• กรรมการ | ASIATECH INFRASTRUTURE COMPANY PTE.LTD..
• กรรมการ | SIAMGAS J&J INTERNATIONAL
• กรรมการ | SIAMGAS BANGLADESH LTD.
• กรรมการ | MSN INTERNATIONAL LTD.
• กรรมการ | ASIATECH ENERGY PTE.LTD.
• กรรมการ | MYANMAR LIGHTING IPP (COMPANY) LTD.
• กรรมการ | SIAMGAS GLOBAL INVESTMENT PTE.LTD.
• กรรมการ | SIAMGAS POWER PTE.LTD.
• กรรมการ | FAREAST PETROLEUM SDN.BHD.
• กรรมการ | MYGAZ SND.BHD.
• กรรมการ | CITYGAS NORTH COMPANY LIMITED
• กรรมการ | บริษัท สยามสุขสวัสดิ์ จำกัด
• กรรมการ | SIAM OCEAN GAS AND ENERGY LIMITED
• กรรมการ | SINO SIAMGAS AND PETROCHEMICALS COMPANY LIMITED
• กรรมการ | SINGGAS (LPG) PTE.LTD.
• กรรมการ | SUPERGAS COMPANY LIMITED
• กรรมการ | SIAMGAS HK COMPANY LIMITED
• กรรมการ | บริษัท สยามควอลิตี้ สตีล จำกัด
• ประธานกรรมการ | บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)

• กรรมการ | บริษัท โบ๊เบ๊ ทาวเวอร์ จำกัด
• ประธานกรรมการ | บริษัท พรหมมหาราชพัฒนาที่ดิน จำกัด

สัดส่วนการถือหุ้นในบมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
- หุ้นสามัญจำนวน 727,763,198 หุ้น (ร้อยละ 39.59 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด)
• ถือหุ้นโดยตรงในจำนวน 215,671,998 หุ้นหรือเท่ากับ 11.73%
• ถือหุ้นทางอ้อมผ่านบริษัท ดับบลิว ดับบลิว โฮลดิ้ง จำกัด ในจำนวน 512,091,200 หุ้นหรือเท่ากับ 27.86%

นายศุภชัย วีรบวรพงศ์ - กรรมการผู้จัดการและกรรมการผู้มีอำนาจ
แต่งตั้งเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2549

อายุ : 50

 

การศึกษา
• M.B.A. SasinGraduate Institude of Chulalongkorn University
• B.S. Civil Engineering Michigan State University, U.S.A.

 

การอบรมบทบาทหน้าที่กรรมการ
• ประกาศนียบัตรสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
• หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP)

 

กรรมการ/ผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียน
• ไม่มี

 

ตำแหน่งในบริษัทอื่น
• กรรมการ | บริษัท ดับบลิว ดับบลิว โฮลดิ้ง จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ชื่นศิริ จำกัด
• กรรมการ | FAREAST MYGAZ SERVICES SDN.BHD..
• กรรมการ | บริษัท สยามแท้งค์ เทอร์มินัล จำกัด
• กรรมการ | RUAMUR PTE.LTD.
• กรรมการ | บริษัท สยามแอลเอ็นจี จำกัด
• กรรมการ | PACIFIC GAS BANGLADESH LIMITED
• กรรมการ | ASIATECH INFRASTRUCTURE COMPANY PTE.LTD.
• กรรมการ | SOUTHERN MYANMAR DEVELOPMENT COMPANY LIMITED
• กรรมการ | ASIATECH ENERGY PTE.LTD.
• กรรมการ | MYANMAR LIGHTING (IPP) COMPANY LIMITED
• กรรมการ | PT SIAMINDO DJOJO TERMINAL
• กรรมการ | SIAMGAS J&J INTERNATIONAL
• กรรมการ | SIAMGAS BANGLADESH LIMITED
• กรรมการ | SIAMGAS GLOBAL INVESTMENT PTE.LTD.
• กรรมการ | SIAMGAS POWER PTE.LTD.
• กรรมการ | FAREAST PETROLEUM SDN.BHD.

• กรรมการ | MYGAZ SND.BHD.
• กรรมการ | CITYGAS NORTH COMPANY LIMITED
• กรรมการ | บริษัท สยามสุขสวัสดิ์ จำกัด
• Director | บริษัท เกรทไชน่า มิลเลนเนียม (ไทยแลนด์) จำกัด
• กรรมการ | บริษัท บวรพงศ์ จำกัด
• กรรมการ | SIAM OCEAN GAS AND ENERGY LIMITED
• กรรมการ | SINO SIAMGAS AND PETROCHEMICALS COMPANY LIMITED
• กรรมการ | SINGGAS (LPG) PTE LTD.
• กรรมการ | SUPERGAS COMPANY LIMITED
• กรรมการ | SIAMGAS HK COMPANY LIMITED
• กรรมการ | บริษัท สยามควอลิตี้ สตีล จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยาม เอทานอล เอ็กซ์ปอร์ท จำกัด
• กรรมการผู้จัดการ | บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)
• กรรมการ | บริษัท พรหมมหาราชพัฒนาที่ดิน จำกัด

สัดส่วนการถือหุ้นในบมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
- หุ้นสามัญจำนวน 102,782,000 หุ้น (ร้อยละ 5.59 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด)

นางพัชรา วีรบวรพงศ์ - กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจ
แต่งตั้งเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2549

อายุ : 74

 

การศึกษา
• ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

การอบรมบทบาทหน้าที่กรรมการ
• ประกาศนียบัตรสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
• หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP)

 

กรรมการ/ผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียน
• ไม่มี

 

ตำแหน่งในบริษัทอื่น
• กรรมการ | บริษัท ดับบลิว ดับบลิว โฮลดิ้ง จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยามแท้งค์ เทอร์มินัล จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)
• กรรมการ | บริษัท โบ๊เบ๊ ทาวเวอร์ จำกัด
• กรรมการผู้จัดการ | บริษัท พรหมมหาราชพัฒนาที่ดิน จำกัด

สัดส่วนการถือหุ้นในบมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
- หุ้นสามัญจำนวน 100,000,000 หุ้น (ร้อยละ 5.44 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด)

น.ส.พัชราวดี วีรบวรพงศ์ - กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจ
แต่งตั้งเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2560

อายุ : 35

 

การศึกษา
• M.A. Business Management , Regents Business School London
• B.S.C. Applied Business Management, Imperial College London

การอบรมบทบาทหน้าที่กรรมการ
• ประกาศนียบัตรสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
• หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP)

 

กรรมการ/ผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียน
• ไม่มี

 

ตำแหน่งในบริษัทอื่น
• กรรมการ | บริษัท ดับบลิว ดับบลิว โฮลดิ้ง จำกัด
• กรรมการ | บริษัท เที่ยวทะเล จำกัด
• กรรมการ | บริษัท อินฟินิตี้ นอร์ท สมุย จำกัด
• กรรมการ | บริษัท อินฟินิตี้ ฮอสพิแทลลิตี้ โฮลดิ้ง จำกัด
• กรรมการ | บริษัท อินฟินิตี้ สมุย จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ชื่นศิริ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)
• กรรมการ | บริษัท สยามแท้งค์ เทอร์มินัล จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยามแอลเอ็นจี จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยามควอลิตี้ สตีล จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ลัคกี้ แคร์ริเออร์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยามสุขสวัสดิ์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท พรหมมหาราชพัฒนาที่ดิน
• กรรมการผู้จัดการ | บริษัท เกรทไชน่า มิลเลนเนียม (ไทยแลนด์) จำกัด.
• กรรมการ | บริษัท บวรพงศ์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยามลัคดี้ มารีน จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยาม เอทานอล เอ็กซ์ปอร์ท จำกัด

สัดส่วนการถือหุ้นในบมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
- หุ้นสามัญจำนวน 86,000,000 ร้อยละ (ร้อยละ 4.68 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด)

นายสมชาย กอประสพสุข - กรรมการและกรรมการผู้มีอำนาจ
แต่งตั้งเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2556

อายุ : 61

 

การศึกษา
• บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 

การอบรมบทบาทหน้าที่กรรมการ
• ประกาศนียบัตรสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
• หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP)

 

กรรมการ/ผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียน
• ไม่มี

 

ตำแหน่งในบริษัทอื่น
• กรรมการ | PRASANSACK GAS SOLE COMPANY LIMITED
• กรรมการ | SGP (LAO) CORPORATION SOLE COMPANY LIMITED
• กรรมการ | บริษัท ชื่นศิริ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยามแท้งค์ เทอร์มินัล จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยามแอลเอ็นจี จำกัด
• กรรมการ | PT SIAMINDO DJOJO TERMINAL
• กรรมการ | SIAMGAS GLOBAL INVESTMENT PTE.LTD.
• กรรมการ | บริษัท สยามลัคดี้ มารีน จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ลัคกี้ แคร์ริเออร์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)

 

สัดส่วนการถือหุ้นในบมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
- หุ้นสามัญจำนวน 15,000 หุ้น (ร้อยละ 0.0008 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด)

นายวิโรจน์ คลังบุญครอง - กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ
แต่งตั้งเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2549

อายุ : 79

 

การศึกษา
• วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• Master degree in Business Administration of Thammasat University
• Mechanical Engineering of Asian Institute of Technology (AIT)

 

การอบรมบทบาทหน้าที่กรรมการ
• ประกาศนียบัตรสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
• หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP)
• หลักสูตร Directors Certificate Program (DCP)
• หลักสูตร Audit Committee Program (ACP)
• หลักสูตร Finance for Non-finance Director Program (FND)

 

กรรมการ/ผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียน
• ไม่มี

 

ตำแหน่งในบริษัทอื่น
• กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ | บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)

ประสบการณ์การทำงาน
• กรรมการ | บริษัท ไครัส จำกัด

• กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ | บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
• อธิบดี | กรมธุรกิจพลังงาน, กระทรวงพลังงาน
• วิศวกรใหญ่ | กรมโยธาธิการ, กระทรวงมหาดไทย
• นายช่างใหญ่ | กรมโยธาธิการ, กระทรวงมหาดไทย
• ผู้อำนวยการกองควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ | กรมโยธาธิการ, กระทรวงมหาดไทย

 

สัดส่วนการถือหุ้นในบมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
- หุ้นสามัญจำนวน 1,890,000 หุ้น (ร้อยละ 0.10 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด)

นายหาญ เชี่ยวชาญ - กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ
แต่งตั้งเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2549

อายุ : 78

 

การศึกษา
• ปริญญาตรีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
• ปริญญาบัตรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่น 6, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

 

การอบรมบทบาทหน้าที่กรรมการ
• ประกาศนียบัตรสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
• หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP)

 

กรรมการ/ผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียน
• กรรมการ | บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

 

ตำแหน่งในบริษัทอื่น
• กรรมการ | บริษัท โกลด์เฮอริเทจ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยามออฟชอร์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สมประสงค์ มาเลิศ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สมประสงค์ มารวย จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สแกน เพาเวอร์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สแกน สมมาตร จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สมาร์ททรี จำกัด
• กรรมการ | บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ซัน รีนิวเอเบิ้ล จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ยู โซล่าร์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ยู รีนิวเอเบิ้ล จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ทรูเอ็นเนอร์จี เพาเวอร์ ลพบุรี จำกัด
• กรรมการ | บริษัท รุ้งเอกรยา เอ็นจิเนียริ่ง (สระแก้ว) จำกัด
• กรรมการ | บริษัท อีส เพาเวอร์ กรีน จำกัด
• กรรมการ | บริษัท อีส ซัน ฟาร์ม จำกัด
• กรรมการ | บริษัท แม่สะเรียง สวนแสง จำกัด
• กรรมการ | บริษัท เจ.พี.มั่งคั่ง จำกัด
• กรรมการ | บริษัท กรีน เพาเวอร์ โซล่าร์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท กรีน โซล่าร์ ฟาร์ม จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ซัน ลาร์โซ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท วังรุ่งโรจน์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท เกาะเต่า วินด์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วินด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
• กรรมการ | บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ แคป แมนเนจเม้นท์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เทอมอล พาวเวอร์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สมประสงค์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
• กรรมการ | บริษัท กรีน เอนเนอร์จี เทคโนโลยี อิน (ไทยแลนด์) จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สมภูมิโซล่าพาวเวอร์ จำกัด
• บริษัท เจ.พี. โซล่า พาวเวอร์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท อีสเอนเนอร์จี จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ซันพาร์ค 2 จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สแกน อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท วังการค้ารุ่งโรจน์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท แม่สะเรียง โซลา จำกัด
• กรรมการ | บริษัท เอ.พี.เค. ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท โรงแรมดาราเทวี จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ดาราเทวี จำกัด
• กรรมการ | บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ ธุรกิจ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท คลีน ซิตี้ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ โซล่า จำกัด
• กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ | บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)

 

ประสบการณ์การทำงาน
• กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ | บริษัท ไทยบริการอุตสาหกรรมและวิศวกรรม จำกัด (มหาชน)
• กรรมการผู้จัดการ | บริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน)
• ที่ปรึกษา | บริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน)
• กรรมการ | การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
• กรรมการ | องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย
• รองกรรมการผู้จัดการ | บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
• รักษาการกรรมการผู้จัดการ | บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
• ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ | บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
• ผู้อำนวยการฝ่ายหลักประกันและนิติกรรม | บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน

 

สัดส่วนการถือหุ้นในบมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
- หุ้นสามัญจำนวน 20,000 shares (ร้อยละ 0.001 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด)

นางสุดจิต ทิวารี - กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ
แต่งตั้งเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2549

อายุ : 76

 

การศึกษา
– บัญชีบัณฑิต, คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– MBA State University of California at Fresno, U.S.A.

 

การอบรมบทบาทหน้าที่กรรมการ
• ประกาศนียบัตรสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
• หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP)
• หลักสูตร Directors Certificate Program (DCP)
• หลักสูตร Audit Committee Program (ACP)
• หลักสูตร IT Governance of Cyber resilience Program (ITG)

 

กรรมการ/ผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียน
• ไม่มี

 

ตำแหน่งในบริษัทอื่น
• กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ | บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)
• กรรมการอิสระ, กรรมการตรวจสอบและกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน | บริษัท อีเกิลส์ แอร์แอนด์ซี (ประเทศไทย) จำกัด

 

ประสบการณ์การทำงาน
• รักษาการประธานกรรมการบริษัทและกรรมการตรวจสอบ | บริษัท เครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด
• กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ | บริษัท เครดิตฟองซิเอร์ ลินน์ ฟิลลิปส์ มอทเก็จ จำกัด
• กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ | บริษัท นวนคร จำกัด (มหาชน)
• กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ | บริษัท สิงห์เอสเตท จำกัด (มหาชน)

• กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ | บริษัท รสาพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
• กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ | บริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)
• กรรมการบริหาร | บริษัท ยูไนเต็ดแฟคตอริ่ง (1993) จำกัด
• กรรมการและประธานกรรมการตรวจสอบ | บริษัท ซันวูดอินดัสตรี้ส์ จำกัด (มหาชน)

สัดส่วนการถือหุ้นในบมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
• ไม่มี

นางจินตณา กิ่งแก้ว - เลขานุการคณะกรรมการบริษัท

อายุ : 64

 

การศึกษา
• บัญชีบัณฑิต สาขาการสอบบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
• บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
• บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

• หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงสถาบันวิทยาการตลาดทุน (CMA)

 

การอบรมบทบาทหน้าที่กรรมการ
• ประกาศนียบัตรสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
• หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP)

 

ตำแหน่งในบริษัทอื่น
• รองกรรมการผู้จัดการ | บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)

 

ประสบการณ์การทำงาน
• รองกรรมการผู้จัดการ | บริษัท อุตสาหกรรมแก๊สสยาม จำกัด
• ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ | บริษัท อุตสาหกรรมแก๊สสยาม จำกัด
• ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน | บริษัท อุตสาหกรรมแก๊สสยาม จำกัด

 

สัดส่วนการถือหุ้นในบมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
- หุ้นสามัญจำนวน 916,000 หุ้น (ร้อยละ 0.05 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด)

MANAGEMENT

กรรมการ

นายศุภชัย วีรบวรพงศ์ - กรรมการผู้จัดการ

อายุ : 50

 

การศึกษา
• M.B.A. SasinGraduate Institude of Chulalongkorn University
• B.S. Civil Engineering Michigan State University, U.S.A.

 

การอบรมบทบาทหน้าที่กรรมการ
• ประกาศนียบัตรสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
• หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP)

 

กรรมการ/ผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียน
• ไม่มี

 

ตำแหน่งในบริษัทอื่น
• กรรมการ | บริษัท ดับบลิว ดับบลิว โฮลดิ้ง จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ชื่นศิริ จำกัด
• กรรมการ | FAREAST MYGAZ SERVICES SDN.BHD..
• กรรมการ | บริษัท สยามแท้งค์ เทอร์มินัล จำกัด
• กรรมการ | RUAMUR PTE.LTD.
• กรรมการ | บริษัท สยามแอลเอ็นจี จำกัด
• กรรมการ | PACIFIC GAS BANGLADESH LIMITED
• กรรมการ | ASIATECH INFRASTRUCTURE COMPANY PTE.LTD.
• กรรมการ | SOUTHERN MYANMAR DEVELOPMENT COMPANY LIMITED
• กรรมการ | ASIATECH ENERGY PTE.LTD.
• กรรมการ | MYANMAR LIGHTING (IPP) COMPANY LIMITED
• กรรมการ | PT SIAMINDO DJOJO TERMINAL
• กรรมการ | SIAMGAS J&J INTERNATIONAL
• กรรมการ | SIAMGAS BANGLADESH LIMITED
• กรรมการ | SIAMGAS GLOBAL INVESTMENT PTE.LTD.
• กรรมการ | SIAMGAS POWER PTE.LTD.
• กรรมการ | FAREAST PETROLEUM SDN.BHD.

• กรรมการ | MYGAZ SND.BHD.
• กรรมการ | CITYGAS NORTH COMPANY LIMITED
• กรรมการ | บริษัท สยามสุขสวัสดิ์ จำกัด
• Director | บริษัท เกรทไชน่า มิลเลนเนียม (ไทยแลนด์) จำกัด
• กรรมการ | บริษัท บวรพงศ์ จำกัด
• กรรมการ | SIAM OCEAN GAS AND ENERGY LIMITED
• กรรมการ | SINO SIAMGAS AND PETROCHEMICALS COMPANY LIMITED
• กรรมการ | SINGGAS (LPG) PTE LTD.
• กรรมการ | SUPERGAS COMPANY LIMITED
• กรรมการ | SIAMGAS HK COMPANY LIMITED
• กรรมการ | บริษัท สยามควอลิตี้ สตีล จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยาม เอทานอล เอ็กซ์ปอร์ท จำกัด
• กรรมการผู้จัดการ | บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)
• กรรมการ | บริษัท พรหมมหาราชพัฒนาที่ดิน จำกัด

สัดส่วนการถือหุ้นในบมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
- หุ้นสามัญจำนวน 102,782,000 หุ้น (ร้อยละ 5.59 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด)

น.ส.พัชราวดี วีรบวรพงศ์ - รองกรรมการผู้จัดการ

อายุ : 35

 

การศึกษา
• M.A. Business Management , Regents Business School London
• B.S.C. Applied Business Management, Imperial College London

การอบรมบทบาทหน้าที่กรรมการ
• ประกาศนียบัตรสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
• หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP)

 

กรรมการ/ผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียน
• ไม่มี

 

ตำแหน่งในบริษัทอื่น
• กรรมการ | บริษัท ดับบลิว ดับบลิว โฮลดิ้ง จำกัด
• กรรมการ | บริษัท เที่ยวทะเล จำกัด
• กรรมการ | บริษัท อินฟินิตี้ นอร์ท สมุย จำกัด
• กรรมการ | บริษัท อินฟินิตี้ ฮอสพิแทลลิตี้ โฮลดิ้ง จำกัด
• กรรมการ | บริษัท อินฟินิตี้ สมุย จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ชื่นศิริ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)
• กรรมการ | บริษัท สยามแท้งค์ เทอร์มินัล จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยามแอลเอ็นจี จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยามควอลิตี้ สตีล จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ลัคกี้ แคร์ริเออร์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยามสุขสวัสดิ์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท พรหมมหาราชพัฒนาที่ดิน
• กรรมการผู้จัดการ | บริษัท เกรทไชน่า มิลเลนเนียม (ไทยแลนด์) จำกัด.
• กรรมการ | บริษัท บวรพงศ์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยามลัคดี้ มารีน จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยาม เอทานอล เอ็กซ์ปอร์ท จำกัด

สัดส่วนการถือหุ้นในบมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
- หุ้นสามัญจำนวน 86,000,000 ร้อยละ (ร้อยละ 4.68 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด)

นางจินตณา กิ่งแก้ว - รองกรรมการผู้จัดการ/ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน

อายุ : 64

 

การศึกษา
• บัญชีบัณฑิต สาขาการสอบบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
• บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
• บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการเงิน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

• หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงสถาบันวิทยาการตลาดทุน (CMA)

 

การอบรมบทบาทหน้าที่กรรมการ
• ประกาศนียบัตรสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
• หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP)

 

ตำแหน่งในบริษัทอื่น
• รองกรรมการผู้จัดการ | บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)

 

ประสบการณ์การทำงาน
• รองกรรมการผู้จัดการ | บริษัท อุตสาหกรรมแก๊สสยาม จำกัด
• ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ | บริษัท อุตสาหกรรมแก๊สสยาม จำกัด
• ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน | บริษัท อุตสาหกรรมแก๊สสยาม จำกัด

 

สัดส่วนการถือหุ้นในบมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
- หุ้นสามัญจำนวน 916,000 หุ้น (ร้อยละ 0.05 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด)

นายอนุวัฒน์ ภู่สันติพงษ์ - รองกรรมการผู้จัดการ

อายุ : 60

 

การศึกษา
• วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

 

การอบรมบทบาทหน้าที่กรรมการ
• ไม่มี

 

ตำแหน่งในบริษัทอื่น
รองกรรมการผู้จัดการ | บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)

 

สัดส่วนการถือหุ้นในบมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
• ไม่มี

นายสมชาย กอประสพสุข - ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ

อายุ : 61

 

การศึกษา
• บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 

การอบรมบทบาทหน้าที่กรรมการ
• ประกาศนียบัตรสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
• หลักสูตร Directors Accreditation Program (DAP)

 

กรรมการ/ผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียน
• ไม่มี

 

ตำแหน่งในบริษัทอื่น
• กรรมการ | PRASANSACK GAS SOLE COMPANY LIMITED
• กรรมการ | SGP (LAO) CORPORATION SOLE COMPANY LIMITED
• กรรมการ | บริษัท ชื่นศิริ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยามแท้งค์ เทอร์มินัล จำกัด
• กรรมการ | บริษัท สยามแอลเอ็นจี จำกัด
• กรรมการ | PT SIAMINDO DJOJO TERMINAL
• กรรมการ | SIAMGAS GLOBAL INVESTMENT PTE.LTD.
• กรรมการ | บริษัท สยามลัคดี้ มารีน จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ลัคกี้ แคร์ริเออร์ จำกัด
• กรรมการ | บริษัท ยูนิคแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน)

 

สัดส่วนการถือหุ้นในบมจ.สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
- หุ้นสามัญจำนวน 15,000 หุ้น (ร้อยละ 0.0008 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด)

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการบริษัทได้ตระหนักถึงบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นของบริษัทให้ทำหน้าที่กำกับดูแลบริษัทให้มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส. เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย. บริษัทได้ดำเนินธุรกิจโดยยึดถือปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัทจึงได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการกำกับดูแลกิจการของบริษัท โดยสามารถแบ่งได้เป็น 5 หมวด ดังนี้.

หมวดที่ 1 สิทธิของผู้ถือหุ้น

บริษัทตระหนักและให้ความสำคัญในสิทธิพื้นฐานต่างๆ ของผู้ถือหุ้น ทั้งในฐานะของนักลงทุนในหลักทรัพย์และในฐานะเจ้าของบริษัท เช่น สิทธิในการซื้อ ขาย, หรือ โอน หลักทรัพย์ที่ตนถืออยู่, สิทธิในการที่จะได้รับส่วนแบ่งผลกำไรจากบริษัท, สิทธิในการได้รับข้อมูลของบริษัทอย่างเพียงพอ, สิทธิต่างๆ ในการประชุมผู้ถือหุ้น สิทธิในการแสดงความคิดเห็น สิทธิในการร่วมตัดสินใจในเรื่องสำคัญของบริษัท เช่น การจัดสรรเงินปันผล, การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ, การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี, การอนุมัติธุรกรรมที่สำคัญและมีผลต่อทิศทางในการดำเนินธุรกิจของบริษัท, การแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ, ข้อบังคับของบริษัท เป็นต้น.

นอกเหนือจากสิทธิพื้นฐานต่างๆ ข้างต้นแล้ว, บริษัทยังได้ดำเนินการในเรื่องต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น ดังนี้

  1. บริษัทจะจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีทุกปี, โดยจะจัดภายใน 4 เดือนนับจากวันสิ้นสุดรอบบัญชีในแต่ละปี. ในการจัดประชุมดังกล่าว, บริษัทจะจัดส่งหนังสือนัดประชุมที่กำหนดระเบียบวาระการประชุมและมีรายละเอียดข้อมูลของแต่ละวาระอย่างเพียงพอ รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการในแต่ละวาระการประชุมพร้อมนำส่งเอกสารข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจไปพร้อมกับหนังสือเชิญประชุม โดยจัดส่งล่วงหน้า 7 วันก่อนวันประชุม และลงประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งวันนัดประชุมล่วงหน้าเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน, ก่อนที่จะถึงวันประชุม.
  2. ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง, บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้กรรมการอิสระหรือบุคคลใดๆ เข้าร่วมประชุมแทนตนได้ โดยใช้หนังสือมอบฉันทะแบบหนึ่งแบบใดที่บริษัทได้จัดส่งไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม.
  3. ก่อนการประชุม, บริษัทจะเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถส่งความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อซักถามได้ล่วงหน้าก่อนวันประชุม
  4. ในการประชุม, บริษัทจะเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถซักถามหรือแสดงความเห็นต่อที่ประชุมในประเด็นต่างๆอย่างเท่าเทียมกัน. ทั้งนี้ ในการประชุมผู้ถือหุ้น, จะมีกรรมการและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อตอบคำถามในที่ประชุม, รวมทั้งจะมีการบันทึกประเด็นซักถามและข้อคิดเห็นที่สำคัญไว้ในรายงานการประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้.
  5. ภายหลังการประชุมแล้วเสร็จ, บริษัทจะจัดทำรายงานการประชุม โดยให้แสดงข้อมูลอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้.

หมวดที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน

บริษัทมีนโยบายที่จะสร้างความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นทุกรายทุกกลุ่ม. โดยในการดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นแต่ละครั้ง, บริษัทจะให้โอกาสแก่ผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันทุกราย. โดยก่อนเริ่มการประชุม, ประธานจะแจ้งข้อมูลสำคัญให้ผู้ถือหุ้นทราบ. ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการประชุม ได้แก่ การแนะนำกรรมการ, ผู้บริหาร, และผู้เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมประชุม. ประธานในที่ประชุมกล่าวเปิดประชุมโดยแจ้งจำนวน / สัดส่วนผู้ถือหุ้นและผู้รับมอบฉันทะ, ที่เข้าร่วมประชุม. ประธานที่ประชุมจะแจ้งวิธีปฏิบัติในการลงคะแนนเสียงและนับคะแนนเสียงให้ผู้ถือหุ้นทราบก่อนลงคะแนน. ผู้ถือหุ้นทุกรายสามารถลงคะแนนได้อย่างเท่าเทียมกัน.

การดำเนินการประชุมเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท, ตามลำดับวาระการประชุม. มีการเสนอรายละเอียดในแต่ละวาระครบถ้วน. มีการแสดงข้อมูลประกอบการพิจารณาอย่างชัดเจน รวมทั้งจะไม่เพิ่มวาระการประชุมที่ไม่แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าโดยไม่จำเป็น. โดยเฉพาะวาระที่มีความสำคัญที่ผู้ถือหุ้นต้องใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ. ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง, บริษัทเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถมอบฉันทะให้กรรมการอิสระหรือบุคคลใดๆ เข้าร่วมประชุมแทนตนได้ โดยใช้หนังสือมอบฉันทะแบบหนึ่งแบบใดที่บริษัทได้จัดส่งไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม.

หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม, ไม่ว่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียภายใน ได้แก่ พนักงาน, และผู้บริหารของบริษัทหรือผู้มีส่วนได้เสียภายนอก เช่น คู่แข่ง, ลูกค้า เป็นต้น. โดยบริษัทตระหนักดีว่าการสนับสนุนและข้อคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานและการพัฒนาธุรกิจของบริษัท. ที่ผ่านมา ดังนั้นจึง, บริษัทจะปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สิทธิของผู้มีส่วนได้เสียดังกล่าวได้รับการดูแลเป็นอย่างดี, นอกจากนี้, บริษัทยังส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างบริษัทและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่บริษัทตามแนวทาง ดังต่อไปนี้.

 

ผู้ถือหุ้น : บริษัทมุ่งมั่นเป็นตัวแทนที่ดีของผู้ถือหุ้นในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงการเจริญเติบโตของมูลค่าบริษัทในระยะยาว รวมทั้งการดำเนินการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส และเชื่อถือได้.

 

พนักงาน : บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของพนักงานบริษัท. ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งของบริษัท. บริษัทจึงมุ่งให้การสนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรบุคคลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัท อีกทั้งยังส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี มีการทำงานเป็นทีม และเสริมสร้างบรรยากาศและความรู้สึกปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรมแก่พนักงาน ทำการแต่งตั้งโยกย้ายให้รางวัลหรือลงโทษพนักงานด้วยความสุจริตใจ. และตั้งอยู่บนพื้นฐานความรู้ ความสามารถและความเหมาะสมของพนักงาน.

 

คู่แข่ง : บริษัทปฏิบัติต่อคู่แข่งขันตามกรอบกติกาการแข่งขันที่เป็นธรรมโดยรักษาบรรทัดฐานของข้อพึงปฏิบัติในการแข่งขัน.

 

ลูกค้า : บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะตอบสนองและให้บริการที่ดี เพื่อสร้างความพึงพอใจและความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า. โดยการส่งมอบสินค้าและให้บริการที่มีคุณภาพ ให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเพียงพอ รวมทั้งการรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้าและไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์โดยมิชอบ.

หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูล, ที่มีความถูกต้อง, ครบถ้วน, และโปร่งใส ทั้งรายงานข้อมูลทางการเงินและข้อมูลทั่วไป , ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอดจนข้อมูลอื่นที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัท , ซึ่งล้วนมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท. โดยบริษัทได้เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศของบริษัทต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน และสาธารณชนผ่านช่องทางและสื่อการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ website ของบริษัท คือ www.siamgas.com

ในส่วนของงานด้านผู้ลงทุนสัมพันธ์นั้น บริษัทได้มีการจัดตั้งหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์เพื่อทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน, นักวิเคราะห์หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลบริษัทได้อย่างสะดวกและเท่าเทียมกัน.

คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินรวมของบริษัทและบริษัทย่อย และสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏในรายงานประจำปี. งบการเงินดังกล่าวจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน โดยเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอในงบการเงิน ซึ่งในการนี้คณะกรรมการตรวจสอบจะเป็นผู้สอบทานคุณภาพของรายงานทางการเงินและระบบควบคุมภายใน, รวมถึง, การเปิดเผยข้อมูลสำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน.

หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

1. โครงสร้างคณะกรรมการ

คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้, ทักษะ, และความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย และมีภาวะผู้นำซึ่งเป็นที่ยอมรับ โดยคณะกรรมการบริษัทจะมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์, ภารกิจ กลยุทธ์ นโยบาย แนวทางในการประกอบธุรกิจ และกำกับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับและมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อประโยชน์ในการติดตามและกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทอย่างใกล้ชิด คณะกรรมการบริษัทจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ เพื่อติดตามและดูแลการดำเนินงานของบริษัท.

โครงสร้างคณะกรรมการของบริษัทประกอบด้วยกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารจำนวน 3 ท่าน, และมีคุณสมบัติเป็น, กรรมการอิสระ. ทั้งนี้, 3 ท่าน, ซึ่งจะทำให้เกิดการถ่วงดุลในการออกเสียงในการพิจารณาเรื่องต่างๆ, และมีคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระ 3 ท่าน ทำหน้าที่สอบทานการบริหารงานบริษัทด้วย.

ปัจจุบัน, คณะกรรมการบริษัทมีจำนวน 8 ท่าน ประกอบด้วยกรรมการบริษัทที่ไม่เป็นผู้บริหารจำนวน, 3 ท่าน และมีคุณสมบัติเป็นกรรมการอิสระจำนวน 3 ท่าน และกรรมการบริษัทที่มาจากฝ่ายบริหารจำนวน 5 ท่าน.

ตามข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้ว่าในการประชุมสามัญประจำปี, กรรมการต้องออกจากตำแหน่งหนึ่งในสาม, ถ้าจำนวนกรรมการที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้, ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับหนึ่งในสาม. ส่วนกรรมการที่จะต้องออกจากตำแหน่งในปีแรกและปีที่สองภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้นให้ใช้วิธีจับสลากกันว่าผู้ใดจะออก. ส่วนปีหลัง ๆ, ต่อไปให้กรรมการคนที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ออกจากตำแหน่ง. อย่างไรก็ตาม กรรมการที่ออกตามวาระนั้นอาจได้รับเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ก็ได้.

ซึ่งสอดคล้องกับ, คณะกรรมการบริษัทยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเรื่องและเสนอเรื่องให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาหรือรับทราบ. ซึ่งคณะอนุกรรมการแต่ละชุดมีสิทธิหน้าที่ตามที่ได้กำหนดไว้ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแต่ละชุด.

บริษัทได้แบ่งแยกบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการบริษัท กับผู้บริหาร อย่างชัดเจน โดยคณะกรรมการบริษัททำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลการดำเนินงานของผู้บริหารในระดับนโยบาย ขณะที่ผู้บริหารทำหน้าที่บริหารงานของบริษัทในด้านต่างๆ ให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด. ที่ผ่านมา ดังนั้นจึง, ประธานกรรมการบริษัท และกรรมการผู้จัดการจึงเป็นบุคคลคนละคนกัน โดยทั้งสองตำแหน่งต้องผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการบริษัทเพื่อให้ได้บุคคลที่มีความเหมาะสมที่สุด.

ทั้งนี้ บริษัทมีเลขานุการบริษัทซึ่งทำหน้าที่ให้คำแนะนำด้านกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่คณะกรรมการจะต้องทราบและปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการ, รวมทั้งประสานงานให้มีการปฏิบัติตามมติคณะกรรมการ.

2. บทบาท, หน้าที่, และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

บริษัท ได้กำหนดให้กรรมการบริษัท ปฏิบัติตามข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการบริษัทจดทะเบียน (Code of Conduct) ตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. โดยคณะกรรมการต้องเข้าใจและทราบถึงบทบาท, ภาระหน้าที่, และความรับผิดชอบของตน และต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฏหมาย, วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และคำนึงถึงประโยชน์ของบริษัท. และกำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย แผนงาน และงบประมาณที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม.

3. นโยบายเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์

บริษัทมีการกำหนดมาตราการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำรายการระหว่างกันของบริษัท, บริษัทย่อย, และบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งว่าผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องใดจะไม่สามารถเข้ามามีส่วน ในการอนุมัติรายการดังกล่าว. โดยคณะกรรมการบริษัทจะต้องปฏิบัติให้บริษัท ปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันและการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัท รวมทั้งปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กำหนดโดยสภาวิชาชีพบัญชีอย่างเคร่งครัด.

คณะกรรมการตรวจสอบจะนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกัน และรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งได้มีการพิจารณาความเหมาะสมอย่างรอบคอบ และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. รวมทั้งจะได้มีการเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี (แบบ 56-2) และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ด้วย

4. ระบบการควบคุมภายใน

บริษัทให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมภายในทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ. ที่ผ่านมา ดังนั้นจึง, กำหนดขอบเขตและอำนาจ, ดำเนินการอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร. มีการควบคุมดูแลการใช้ทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์มากที่สุด. และมีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบในการอนุมัติ การบันทึกรายการบัญชีและข้อมูลสารสนเทศ และการจัดเก็บทรัพย์สินออกจากกัน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างกันอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการควบคุมภายในเกี่ยวกับระบบการเงิน โดยบริษัทจัดให้มีระบบรายงานทางการเงินเสนอผู้บริหารสายงานที่รับผิดชอบ. บริษัทมีฝ่ายตรวจสอบภายในของบริษัท เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบระบบการควบคุมภายใน. โดยในแต่ละปีฝ่ายตรวจสอบภายในจะกำหนดแผนเข้าตรวจสอบระบบการปฏิบัติการของ คลังก๊าซ โรงบรรจุก๊าซ และสถานีบริการก๊าซของบริษัทอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง. เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างโปร่งใสและรัดกุม และฝ่ายตรวจสอบภายในจะรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ

5. การประชุมคณะกรรมการ

บริษัทมีนโยบายให้คณะกรรมการของบริษัทต้องประชุมอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง. และอาจมีการประชุมพิเศษเพิ่มเติมตามความจำเป็น. โดยจะมีการส่งหนังสือเชิญประชุมที่ระบุวาระการประชุมอย่างครบถ้วน พร้อมข้อมูลประกอบที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า 7 วัน ก่อนวันประชุม. เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม รวมทั้งได้มีการจดบันทึกรายงานการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร. และการจัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการบริษัท พร้อมให้คณะกรรมการบริษัทและผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้.

6. ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร

บริษัทมีการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารในระดับที่เหมาะสม. และเป็นอัตราเพียงพอสำหรับการรักษากรรมการและผู้บริหารที่มีคุณภาพไว้โดยไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนที่มากเกินควร. ปัจจัยที่จะนำมาพิจารณา ประกอบด้วยประสบการณ์, ภาระหน้าที่, ขอบเขตของบทบาทและความรับผิดชอบ. ทั้งนี้ การจ่ายค่าตอบแทนของผู้บริหารจะเป็นไปตามหลักการและนโยบายที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดไว้ โดยจะพิจารณาจากภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ ผลการปฏิบัติงาน และผลการดำเนินงานของบริษัท.

7. การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร

คณะกรรมการบริษัท มีนโยบายส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้มีการฝึกอบรมและให้ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในระบบการกำกับดูแลกิจการของบริษัท. ซึ่งรวมถึง กรรมการ, กรรมการตรวจสอบ, ฝ่ายบริหาร, และเลขานุการบริษัท ได้แก่ หลักสูตรของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors Association : IOD).

8. การปฏิบัติตามการกำกับดูแลกิจการในเรื่องอื่นๆ

• จริยธรรมธุรกิจ

บริษัทได้กำหนดหลักปฏิบัติเกี่ยวกับจริยธรรมของคณะกรรมการ, ฝ่ายบริหาร, และพนักงาน. เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจของบริษัทด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม ทั้งการปฏิบัติต่อบริษัท ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม สาธารณชนและสังคม รวมทั้งการกำหนดระบบติดตามการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวเป็นประจำ ทั้งนี้. บริษัทได้มีการประกาศและแจ้งให้พนักงานทุกคนรับทราบและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด รวมถึงให้มีการปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว.

• ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์บนหลักการที่ว่า การตัดสินใจใดๆ ในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจจะต้องทำเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทเท่านั้น และควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์. โดยกำหนดให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวโยงกับรายการที่พิจารณา ต้องแจ้งให้บริษัททราบถึงความสัมพันธ์หรือการเกี่ยวโยงของตนในรายการดังกล่าวและต้องไม่เข้าร่วมการพิจารณาตัดสิน รวมถึงไม่มีอำนาจอนุมัติในธุรกรรมนั้นๆ.

คณะกรรมการตรวจสอบจะนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกัน และรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งได้มีการพิจารณาความเหมาะสมอย่างรอบคอบ และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. รวมทั้งจะได้มีการเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี (แบบ 56-2) และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ด้วย

• รายงานของคณะกรรมการ

คณะกรรมการตรวจสอบจะทำหน้าที่สอบทานรายงานทางการเงิน. โดยมีการประชุมร่วมกับฝ่ายบริหาร ฝ่ายตรวจสอบภายใน ฝ่ายบัญชีและผู้สอบบัญชีของบริษัท และนำเสนอรายงานทางการเงินต่อคณะกรรมการบริษัททุกไตรมาส. โดยคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินรวมของบริษัทและบริษัทย่อย
รวมทั้งสารสนเทศทางการเงิน (รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน), ที่ปรากฏในรายงานประจำปี. งบการเงินดังกล่าวจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน. มีการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญ, ทั้งข้อมูลทางการเงิน และไม่ใช่การเงินบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วน และเพียงพอ.

คณะกรรมการชุดย่อย

โครงสร้างกรรมการของบริษัท ประกอบด้วย คณะกรรมการทั้งสิ้น 4 ชุด ประกอบด้วยคณะกรรมการบริษัท, คณะกรรมการบริหาร, คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการตรวจสอบ . ซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และประกาศของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดต่างๆของบริษัทมีดังนี้.

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมาย, วัตถุประสงค์, ข้อบังคับ, มติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยสรุปอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญ ดังนี้.

    1. จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมสามัญประจำปีภายใน 4 เดือน นับตั้งแต่วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท
    2. จัดให้มีการประชุมกรรมการอย่างน้อยสามเดือนต่อครั้ง.
    3. 3. จัดให้มีการทำงบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุนของบริษัท ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีของบริษัทตรวจสอบแล้ว และนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ.
    4. พิจารณาและอนุมัติกิจการอื่น ๆ ที่สำคัญเกี่ยวกับบริษัท หรือที่เห็นสมควรจะดำเนินกิจการนั้นเพื่อเกิดประโยชน์กับบริษัท.
    5. 5. มีอำนาจมอบหมายแต่งตั้งกรรมการบริหารขึ้นคณะหนึ่งเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างแทนคณะกรรมการ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการหรืออาจมอบอำนาจเพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีอำนาจตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรและภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการเห็นสมควร. ทั้งนี้, คณะกรรมการอาจยกเลิก, เพิกถอน, เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจนั้น ๆ ได้เมื่อเห็นสมควร.
      ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทอาจมอบอำนาจให้ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานต่างๆ โดยมีรายละเอียดการมอบอำนาจตามขอบเขตหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร. อย่างไรก็ตาม, การมอบอำนาจนั้นต้องไม่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจที่ทำให้คณะกรรมการบริหาร สามารถพิจารณาอนุมัติรายการที่คณะกรรมการบริหาร หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดทำกับบริษัท หรือบริษัทย่อย, ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการที่เป็นนโยบายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติไว้แล้ว.
    6. กำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงาน, การบริหารเงิน, การบริหารความเสี่ยงของกิจการ. และจัดให้บริษัท มีระบบการควบคุมดูแลให้ฝ่ายบริหารดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล, เว้นแต่อำนาจในการดำเนินการดังต่อไปนี้จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนดำเนินการ, รวมทั้งกฎหมายกำหนดความละเอียดของการประชุม, การเพิ่มทุนหรือลดทุนของบริษัท, การควบหรือเลิกบริษัท การขายหรือโอนกิจการของบริษัททั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่บุคคลอื่น การซื้อหรือรับโอนกิจการของบริษัทอื่นหรือบริษัทเอกชนมาเป็นของบริษัท, การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัท เป็นต้น.
      ซึ่งสอดคล้องกับ, คณะกรรมการยังมีขอบเขตหน้าที่ในการกำกับดูแลให้บริษัท ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์, อาทิเช่น การทำรายการเกี่ยวโยงกัน, และการซื้อหรือขายทรัพย์สินที่สำคัญตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบริษัท.
    7. พิจารณาโครงสร้างการบริหารงาน แต่งตั้งคณะกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการ, และคณะกรรมการอื่น ๆ ตามความเหมาะสม.
    8. ติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนงานและงบประมาณอย่างต่อเนื่อง.
    9. กรรมการจะต้องไม่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท หรือเข้าไปเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นกรรมการของบริษัทเอกชน หรือบริษัทอื่นที่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน . และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น, เว้นแต่ จะได้แจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนที่จะมีมติแต่งตั้ง.
    10. *กำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น, กำกับ ดูแล และผลักดันนโยบายและแนวทางปฏิบัติให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง. โดยมอบหมายให้ฝ่ายจัดการนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริหารและพนักงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นและยึดถือปฏิบัติตาม.
    11. เรื่องอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด.

*หมายเหตุ: เป็นการเพิ่มเติมขอบเขตอำนาจหน้าที่ ซึ่งจะต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2017.

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการตรวจสอบได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ให้มีหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทและรายงานตรงต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้การดำเนินงานมีมาตรฐานที่จะก่อให้ เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทและผู้ถือหุ้น. โดยมีขอบเขตการดูแล ดังนี้

คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่และรับผิดชอบตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)และให้รายงานตรงต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้การดำเนินงานมีมาตรฐานที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทและผู้ถือหุ้น โดยมีขอบเขตการกำกับดูแล ดังนี้

  1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ.
  2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (internal control) ระบบการตรวจสอบภายใน (internal audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง, โยกย้าย, เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน.
  3. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคล ซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว, รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง.
  4. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท.
  5. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์. ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท.
  6. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท, ซึ่งรายงาน ดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบและต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้.
    1. ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท.
    2. ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท.
    3. ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท.
    4. ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี.
    5. ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์.
    6. จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ, และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน.
    7. ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่.
    8. รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ, ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบ, ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
  7. รายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง.
  8. พิจารณาสอบทานนโยบาย, มาตรการ, และแนวทางปฏิบัติในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น. กำกับ ดูแลให้มีการปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีการดำเนินกิจการที่โปร่งใสไม่ขัดแย้งต่อนโยบายดังกล่าว.
  9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ.

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร

    1. มีอำนาจในการจัดการและบริหารกิจการของบริษัทตามวัตถุประสงค์, ข้อบังคับ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัททุกประการ.
    2. กำหนดโครงสร้างองค์กร การบริหาร โดยให้ครอบคลุมทุกรายละเอียดของการคัดเลือก, การฝึกอบรม, การว่าจ้าง, และการเลิกจ้างของพนักงานของบริษัท, รวมทั้งกำหนดสวัสดิการพนักงาน ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ ประเพณีปฏิบัติ และสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน.
    3. มีอำนาจจัดทำเสนอแนะและกำหนดเป้าหมาย นโยบาย แนวทางธุรกิจ และกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทรวมถึงการกำหนดขอบเขตอำนาจและหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติเห็นชอบ.
    4. กำหนดแผนธุรกิจ อำนาจการบริหารงาน อนุมัติงบประมาณสำหรับประกอบธุรกิจประจำปีและงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท. และดำเนินการตามแผนทางธุรกิจและกลยุทธ์ทางธุรกิจ โดยการดำเนินการทั้งหมดของคณะกรรมการบริหารจะสอดคล้องกับนโยบายและแนวทางธุรกิจที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติแล้ว.
    5. มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการดำเนินงานเพื่อธุรกรรมตามปกติธุรกิจของบริษัท เช่น การจัดซื้อสินค้า, ยานพาหนะ, วัสดุ, เครื่องมืออุปกรณ์, เครื่องใช้. การอนุมัติค่าใช้จ่าย เป็นต้น ภายในวงเงินสำหรับแต่ละรายการไม่เกิน 100 ล้านบาท.
    6. มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการใช้จ่ายทางการเงินในด้านสินทรัพย์ฝ่ายทุน (Capital Expenditure) ของบริษัท, และบริษัทย่อย ในวงเงิน 200 ล้านบาทและสะสมไม่เกิน 1,000 ล้านบาทต่อปี. ในกรณีที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้, ให้คณะกรรมการบริหารนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาและอนุมัติ.
    7. มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการขอกู้ยืมหรือการขอสินเชื่อใด ๆ ของบริษัทและบริษัทย่อย, รวมถึงเป็นผู้ค้ำประกันให้แก่บริษัทย่อย ในวงเงิน 200 ล้านบาทและสะสมไม่เกิน 1,000 ล้านบาทต่อปี ในกรณีที่ขอกู้ยืม หรือเป็นผู้ค้ำประกันเกินกว่าวงเงินที่กำหนดไว้. ให้คณะกรรมการบริหารนำเสนอคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาและอนุมัติ.
    8. มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการให้เงินกู้ยืมแก่บริษัทย่อย โดยวงเงินการกู้ยืมสะสมทั้งหมดไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อปี.
    9. มีอำนาจในการทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงิน, ในเรื่องการเปิดบัญชีกับธนาคาร สถาบันการเงินและการขอหนังสือค้ำประกันจากธนาคาร, สถาบันการเงิน ของบริษัทและบริษัทย่อย ในวงเงิน 500 ล้านบาทและสะสมไม่เกิน 1,500 ล้านบาทต่อปี.
    10. ส่งเสริม สนับสนุนนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น, ทบทวนความเหมาะสมของนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ, นโยบาย, ระเบียบ, ประกาศ, ข้อบังคับ และข้อกำหนดของกฎหมาย.
    11. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายในแต่ละช่วงเวลาจากคณะกรรมการบริษัท.
    12. ทั้งนี้ การอนุมัติการเข้าทำรายการดังกล่าวข้างต้น จะต้องไม่มีลักษณะเป็นการอนุมัติการเข้าทำรายการที่ทำให้คณะกรรมการบริหารหรือผู้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการบริหาร สามารถอนุมัติการเข้าทำรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ที่มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใด (ตามข้อบังคับของบริษัทและตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. และ/หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำหนด) กับบริษัทหรือบริษัทย่อย.

ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการ

กรรมการผู้จัดการมีอำนาจดำเนินการตามที่คณะกรรมการบริษัทหรือคณะกรรมการบริหาร ได้มอบหมาย ซึ่งอยู่ภายใต้กฎระเบียบและข้อบังคับของบริษัท. อย่างไรก็ตาม, การมอบอำนาจดังกล่าวต้องไม่มีลักษณะเป็นการมอบอำนาจที่ทำให้สามารถอนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสียหรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใด กับบริษัทหรือบริษัทย่อย. กรรมการผู้จัดการมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ ดังนี้

      1. ดำเนินการและบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบายธุรกิจ แผนธุรกิจ และกลยุทธ์ทางธุรกิจที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติแล้ว.
      2. มอบอำนาจหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นใดที่กรรมการผู้จัดการเห็นสมควรทำหน้าที่แทนกรรมการผู้จัดการในเรื่องที่จำเป็นและสมควร โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของกรรมการผู้จัดการซึ่งอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายและ, กฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท.
      3. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท และ/หรือ คณะกรรมการบริหารในแต่ละคราว.
      4. ดำเนินการและบริหารจัดการดำเนินธุรกิจตามปกติของบริษัทและสามารถอนุมัติรายการที่เป็นธุรกรรมตามปกติของบริษัท เช่น การจัดซื้อสินค้า , ยานพาหนะ, เครื่องมืออุปกรณ์, วัสดุ, เครื่องใช้. การอนุมัติค่าใช้จ่าย, การอนุมัติการขาย เช่าซื้อ การอนุมัติการตัดหนี้สูญ (โดยให้เป็นไปตามนโยบายและขั้นตอนของบริษัท) และการว่าจ้างที่ปรึกษาด้านต่างๆ เป็นต้น. ที่มีมูลค่าสำหรับแต่ละรายการที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท.
      5. มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการใช้จ่ายทางการเงินในด้านสินทรัพย์ฝ่ายทุน (Capital Expenditure) ของบริษัทและบริษัทย่อยในวงเงิน 100 ล้านบาท และสะสมไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อปี. ในกรณีที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้, ให้นำเสนอคณะกรรมการบริหาร เพื่อพิจารณาและอนุมัติ.
      6. มีอำนาจพิจารณาอนุมัติการให้เงินกู้ยืมแก่บริษัทย่อย, แต่ละครั้งไม่เกิน 50 ล้านบาท หรือจำนวนเทียบเท่า โดยทั้งนี้ วงเงินการกู้ยืมสะสมทั้งหมดไม่เกิน 100 ล้านบาท ต่อปีหรือจำนวนเทียบเท่า.

การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูงสุด

บริษัทไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมการสรรหา ในการคัดเลือกบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งกรรมการหรือผู้บริหาร ระดับสูงสุด. อย่างไรก็ตาม, บริษัทมีกระบวนการสรรหากรรมการและผู้บริหารระดับสูงสุดของบริษัท โดยให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และ/หรือตัวแทนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่แต่ละกลุ่ม, ผู้ทรงคุณวุฒิตามสายงานที่เกี่ยวข้อง และกรรมการอิสระ พร้อมทั้งให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทร่วมกันเสนอรายชื่อ, บุคคลที่มีคุณวุฒิ ประสบการณ์ ศักยภาพในการสนับสนุนงานของบริษัท และมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.. 2535 กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และประกาศของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. เพื่อร่วมกันกลั่นกรองรายชื่อเบื้องต้นและนำเสนอให้ผู้ถือหุ้นพิจารณา แล้วทำการคัดเลือกตามข้อบังคับบริษัท ดังนี้

คณะกรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ

บริษัทมีนโยบายในการสรรหากรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ ให้สอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ ทจ. 39/2559 เรื่องการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้อนุมัติการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) และกำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบอยู่ในวาระคราวละ 3 ปี โดยกรรมการตรวจสอบแต่ละรายต้องเป็นกรรมการอิสระและมีคุณสมบัติของกรรมการอิสระ หลักเกณฑ์ในการสรรหากรรมการอิสระ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

      1. ถือหุ้นไม่เกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ , บริษัทย่อย, บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท. ทั้งนี้ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย.
      2. ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน, ลูกจ้าง, พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท บริษัทใหญ่, บริษัทย่อย, บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือของผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง.
      3. ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมาย ในลักษณะที่เป็นบิดา, มารดา, คู่สมรส, พี่น้อง, และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร ของกรรมการรายอื่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นกรรมการ ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทหรือบริษัทย่อย.
      4. ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย หรือผู้มีอำนาจควบคุมของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท, บริษัทใหญ่, บริษัทย่อย, บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง.
      5. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ , บริษัทย่อย, บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท, และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย- ผู้มีอำนาจควบคุม, หรือหุ้นส่วนของสำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่, บริษัทย่อย, บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทสังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง.
      6. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ , ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่า 2 ล้านบาทต่อปีจากบริษัท บริษัทใหญ่, บริษัทย่อย, หรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุ้นส่วน, ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย. เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ได้รับการแต่งตั้ง.
      7. ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่.
      8. ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อย หรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุ้นส่วน หรือเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจำ หรือถือหุ้นเกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อย.
      9. ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท.

หลักเกณฑ์ในการสรรหากรรมการตรวจสอบ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  1. ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้เป็นกรรมการตรวจสอบ
  2. เป็นกรรมการอิสระที่เป็นไปตามคุณสมบัติข้างต้นของกรรมการอิสระ , และ
    1. ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการของบริษัท, บริษัทใหญ่, บริษัทย่อย, บริษัทร่วม, บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน, ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้มีอำนาจควบคุมของ บริษัท ฯ และ,
    2. ไม่เป็นกรรมการของบริษัทใหญ่ บริษัทย่อย หรือบริษัทย่อยลำดับเดียวกันเฉพาะที่เป็นบริษัทจดทะเบียน.
  3. มีหน้าที่ในลักษณะเดียวกับที่กำหนดไว้ในประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยคุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ,
  4. มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในฐานะกรรมการตรวจสอบ, ทั้งนี้, ต้องมีกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยหนึ่งคนที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้.

กรรมการบริษัท

      1. คณะกรรมการของบริษัทประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อย 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดนั้นต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร.
      2. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการ, โดยใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
        1. ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อเสียงหนึ่ง.
        2. ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะใช้คะแนนเสียงที่มีอยู่ทั้งหมดตาม (1) เลือกตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้, แต่จะแบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้.
        3. บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะพึงมี, หรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น. ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนที่จะพึงมี, หรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้นให้ผู้เป็นประธานในที่ประชุมเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด.
      3. ในการประชุมสามัญประจำปีทุกครั้ง, ให้กรรมการออกจากตำแหน่ง 1 ใน 3, ถ้าจำนวนกรรมการที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้, ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับส่วน 1 ใน 3 โดยกรรมการที่จะต้องออกจากตำแหน่งในปีแรกและปีที่สองภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้นให้จับสลากกันว่าผู้ใดจะออก. ส่วนกรรมการที่จะต้องออกจากตำแหน่งในปีแรกและปีที่สองภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้นให้ใช้วิธีจับสลากกันว่าผู้ใดจะออก. ส่วนปีหลังๆ, ต่อไปให้กรรมการที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ออกจากตำแหน่ง. กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนี้อาจได้รับเลือกตั้งใหม่ได้.
      4. กรรมการคนใดจะลาออกจากตำแหน่ง , ให้ยื่นใบลาออกต่อบริษัท การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงบริษัท.
      5. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอาจลงมติให้กรรมการคนใดออกจากตำแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระได้ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง.

การกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม

บริษัทกำหนดให้การเสนอชื่อและการใช้สิทธิออกเสียงแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท. โดยบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม มีหน้าที่ดำเนินการเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมนั้น ๆ.

และบริษัทได้กำหนดให้บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งนั้น ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทก่อนที่จะไปลงมติ หรือใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องสำคัญในระดับเดียวกับที่ต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท หากเป็นการดำเนินการโดยบริษัทเอง.

ทั้งนี้, การส่งกรรมการเพื่อเป็นตัวแทนในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมดังกล่าวเป็นไปตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท.

นอกจากนี้, ในกรณีเป็นบริษัทย่อย, บริษัทกำหนดให้บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทนั้นต้องดูแลให้บริษัทย่อยมีข้อบังคับในเรื่องการทำรายการที่เกี่ยวโยง, การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ หรือการทำรายการสำคัญอื่นใดของบริษัทดังกล่าวให้ครบถ้วนถูกต้อง. ซึ่งสอดคล้องกับ, ในกรณีเป็นบริษัทย่อย บริษัทกำหนดให้บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทนั้นต้องดูแลให้บริษัทย่อยมีข้อบังคับในเรื่องการทำรายการที่เกี่ยวโยง การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ หรือการทำรายการสำคัญอื่นใดของบริษัทดังกล่าว ให้ครบถ้วนถูกต้อง. และใช้หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลและการทำรายการข้างต้นในลักษณะเดียวกับหลักเกณฑ์ของบริษัท รวมถึงต้องกำกับดูแลให้มีการจัดเก็บข้อมูล และการบันทึกบัญชีของบริษัทย่อยให้สามารถตรวจสอบ และรวบรวมมาจัดทำงบการเงินรวมได้ทันกำหนดด้วย.

การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน

บริษัทได้มีการดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายในโดยจัดทำบันทึกข้อตกลงการรักษาความลับของบริษัทสำหรับพนักงาน, ผู้รับจ้าง, ผู้ขายสินค้า, ผู้ให้บริการ รวมทั้งผู้ที่เข้าเยี่ยมชมกิจการของบริษัท เพื่อป้องกันการเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารอันเป็นความลับของบริษัทและบริษัทย่อย. ซึ่งสอดคล้องกับ, มีบทลงโทษสำหรับผู้ที่นำข้อมูลภายในไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือใช้ในทางที่ทำให้บริษัทได้รับความเสื่อมเสียหรือเสียหาย. อีกทั้ง, ต้องไม่ทำการซื้อ, ขาย, โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์ของบริษัทโดยใช้ความลับ และ/หรือข้อมูลภายใน และ/หรือเข้าทำนิติกรรมอื่นใดโดยใช้ความลับ และ/หรือข้อมูลภายในของบริษัท อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทไม่ว่าโดยทางตรง, หรือทางอ้อม.

บริษัทได้กำหนดมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในโดยมิชอบ (Insider Trading) ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหมายถึง กรรมการ, ผู้บริหาร และพนักงาน ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายใน (รวมทั้งคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว). โดยห้ามบุคคลที่เกี่ยวข้องทำการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทภายใน 1 เดือนก่อนมีการเปิดเผยงบการเงินรายไตรมาส และงบการเงินประจำปี.

บริษัทได้ให้ข้อมูลแก่กรรมการ และผู้บริหารเกี่ยวกับหน้าที่ที่ผู้บริหารต้องรายงานการถือหลักทรัพย์ในบริษัท และบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.. 2535 และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ในกรณีที่กรรมการ หรือผู้บริหารมีการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท, ต้องรายงานการถือหลักทรัพย์ในบริษัท ของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามมาตรา 59 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.. 2535 ภายใน 3 วันทำการ, ให้สำนักงาน ก.ล.ต. ทราบ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะต่อไป.

ทั้งนี้, บริษัทได้กำหนดโทษทางวินัยสำหรับผู้แสวงหาผลประโยชน์จากการนำข้อมูลภายในของบริษัทไปใช้ หรือนำไปเปิดเผยจนอาจทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย. โดยพิจารณาลงโทษตามควรแก่กรณี, ได้แก่ การตักเตือนด้วยวาจา, การตักเตือนเป็นหนังสือ, การภาคทัณฑ์ตลอดจนการเลิกจ้างพ้นสภาพการเป็นพนักงานด้วยเหตุไล่ออก, ปลดออก, หรือให้ออก แล้วแต่กรณี เป็นต้น

สารจากประธานกรรมการบริษัท

ปี 2565 นับเป็นก้าวสำคัญในการดำเนินธุรกิจพลังงานสู่ความยั่งยืน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ดังเช่นสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและระบบเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศตั้งแต่ปี 2563 ทำให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายลงตั้งแต่กลางปี 2565 ภายหลังจากประชากรส่วนใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้รับวัคซีนเป็นจำนวนมากแล้ว ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลงและภายหลังรัฐบาลของประเทศต่างๆเริ่มเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการการเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัว ส่งผลให้มีการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างกันได้มากขึ้น และส่งผลดีต่อความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นทุกภาคส่วน
 
อย่างไรก็ตามอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง คือ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอย่างรวดเร็วจากภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ธุรกิจในกลุ่มพลังงานต้องเผชิญกับความผันผวนของราคาพลังงานโลก และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้ ส่งผลทำให้ต้นทุนสินค้าพลังงานปรับตัวสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการปรับตัวของธุรกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนสินค้าพลังงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงนับว่าเป็นความท้าทายมากที่สุดช่วงหนึ่งของธุรกิจพลังงาน
 
ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจพลังงานมาอย่างยาวนาน ประกอบกับวิสัยทัศน์ขององค์กรที่ว่า “ กลุ่มบริษัทสยามแก๊ส ก้าวสู่การเป็นผู้นำในการประกอบธุรกิจทางด้านพลังงานระดับโลก “ และมีเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนที่ชัดเจน ส่งผลให้ในปี 2565 กลุ่มบริษัทสยามแก๊ส มียอดจำหน่ายก๊าซ LPG ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งสิ้น 102,117.25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จํานวน 23,513.48 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.91 นับเป็นปีที่กลุ่มบริษัทสยามแก๊สประสบความสำเร็จจากการสร้างการเติบโตของยอดจำหน่ายก๊าซ LPG สูงที่สุดเป็นประวัติการ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ขยายฐานธุรกิจก๊าซ LPG ด้วยการเข้าลงทุนในหุ้นของบริษัท ประสานสักแก๊ส จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจจำหน่ายก๊าซ LPG ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในสัดส่วนร้อยละ 100 ด้วยมูลค่า 15 ล้านบาท ซึ่งเป็นการต่อยอดธุรกิจและสร้างโอกาสทางธุรกิจในต่างประเทศ
 
สำหรับในปี 2566 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยและทั่วโลก มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากภาคการท่องเที่ยว แต่ยังคงต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ที่จะเป็นสาเหตุหลักในการกำหนดทิศทางของราคาพลังงาน ซึ่งทางบริษัทฯ เตรียมแผนรับมือและบริหารจัดการพลังงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยอดจำหน่ายก๊าซ LPG ในปี 2566 ที่ 110,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกัน ทางบริษัทฯ มุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน ด้วยการพัฒนากระบวนการทำงาน ตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Social) และสิ่งแวดล้อม (Environment)
 
ในนามของคณะกรรมการบริษัท ขอขอบคุณท่านผู้ถือหุ้น ผู้ร่วมทุน คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ ลูกค้า ผู้บริหารและพนักงาน รวมทั้งท่านผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ให้การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ด้วยดีมาโดยตลอด และขอให้ทุกท่านเชื่อมั่นว่า กลุ่มบริษัทสยามแก๊สจะดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ ยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณทางธุรกิจ และการพัฒนาการดำเนินธุรกิจพลังงานสู่ความมั่นคงและยั่งยืนได้ในอนาคต
 

นายวรวิทย์ วีรบวรพงศ์

ประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร

นโยบายการเปิดเผยข้อมูล

หลักการ
บริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) ("SGP") ให้ความสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทที่เป็นไปอย่างตรงตามกำหนดเวลา โปร่งใส เหมาะสม และเป็นกลางแก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุนทั่วไป และสาธารณชน เพื่อให้กลุ่มนักลงทุนมีข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัท. โดยข้อมูลดังกล่าวต้องเป็นไปตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่มีการป้องกันข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและเป็นความลับของบริษัท. ดังนั้น บริษัทจึงได้มีข้อกำหนดนโยบายการเปิดเผยข้อมูลของ SGP เพื่อเป็นแนวปฏิบัติของผู้บริหารและพนักงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ โดยมีเป้าหมายในการสร้างแนวทางปฏิบัติของนักลงทุนสัมพันธ์ที่มุ่งสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับกลุ่มนักลงทุน รวมถึงสร้างความไว้วางใจและความมั่นใจให้แก่นักลงทุน.

ผู้มีอำนาจในการเปิดเผยข้อมูล
กรรมการผู้จัดการ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน ผู้จัดการฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์เป็นผู้ที่มีอำนาจในการเปิดเผยข้อมูล . โดยจะชี้แจงข้อมูลด้วยตนเองหรืออาจมอบหมายให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ชี้แจงก็ได้.

การจัดการข้อมูล
ข้อมูลของบริษัทในกรณีนี้ รวมถึง ผลประกอบการทางการเงินรายไตรมาส ผลการดำเนินงาน แผนกลยุทธ์ห้าปี กลยุทธ์ของบริษัท รูปแบบธุรกิจ การควบรวมกิจการหรือการลงทุนที่สำคัญ รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัท และ/หรือส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ของบริษัท.

เมื่อมีเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญ , ในกรณีที่มีการรั่วไหลของข้อมูล ข่าวที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงหรือข้อมูลถูกเปิดเผยก่อนเวลาอันควร ซึ่งอาจก่อให้เกิดข่าวลือที่มีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ และ/หรือการดำเนินงานของบริษัท ให้ผู้ที่มีอำนาจในการเปิดเผยข้อมูลหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายรับผิดชอบในการชี้แจงข้อมูลสำคัญผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือช่องทางการเปิดเผยอื่นๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องโดยทันที.

ช่องทางการสื่อสาร
บริษัทจะเปิดเผยข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามที่กำหนด . นอกจากนี้ บริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลอื่นๆ ที่สำคัญ โดยสมัครใจ ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทเองเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย. นอกจากนี้ บริษัทยังเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้แก่ลูกค้าและสาธารณชนอย่างสมํ่าเสมอ.
ผ่านเอกสารการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนและการจัดประชุมแถลงข่าว. ทั้งนี้ ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์เป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ในเรื่องของกลยุทธ์และขั้นตอนในการสื่อสาร.

ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์
ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทและผู้ถือหุ้นและกลุ่มนักลงทุน . โดยฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเตรียมข้อมูลของบริษัทตามรายละเอียดที่ได้ระบุไว้ภายใต้ "การจัดการข้อมูล" เพื่อเปิดเผยต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มนักลงทุน และสาธารณชนตามที่กำหนด และ/หรือตามความเหมาะสม .

จรรยาบรรณนักลงทุนสัมพันธ์
บริษัทได้มีการจัดตั้งหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์เพื่อทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารข้อมูลสำคัญต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลบริษัทได้อย่างสะดวกและเท่าเทียมกัน . และเนื่องจากนักลงทุนสัมพันธ์มีหน้าที่หลักในการติดต่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์กับหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของบริษัท บริษัทจึงจัดให้มีจรรยาบรรณของนักลงทุนสัมพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานของหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ตั้งอยู่บนหลักจริยธรรมและเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมีแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ปฏิบัติหน้าที่นักลงทุนสัมพันธ์ด้วยความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีความรับผิดชอบ และมีความเป็นมืออาชีพ ตลอดจนมีความซื่อสัตย์สุจริตในวิชาชีพ และดำรงตนอยู่บนพื้นฐานของหลักความถูกต้องและความเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติหรือเอื้อประโยชน์ต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
2. ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศ กฎระเบียบ และแนวปฏิบัติต่างๆ ของหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง อาทิ . สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงข้อบังคับและนโยบายของบริษัทอย่างเคร่งครัด.
3. เปิดเผยข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนอย่างถูกต้อง ชัดเจน แม่นยำ ครบถ้วน ทันเวลาและเป็นธรรม โดยใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่งเพื่อหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดหรือการตีความผิด. และปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลซึ่งเป็นความลับทางการค้าหรือข้อมูลลับที่อาจทำให้กลุ่มบริษัทเสียเปรียบหรือสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
4. เปิดโอกาสให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงและสอบถามข้อมูลได้
5. รักษาความลับ ไม่เปิดเผย และไม่ใช้ข้อมูลภายในใดๆ ของบริษัทซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเอง และ/หรือ บุคคลอื่นโดยมิชอบ.
6. ตอบคำถามและข้อสงสัยของผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์ และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที.
7. งดเว้นการจัดประชุมหรือชี้แจงข้อมูลให้กับนักลงทุนและนักวิเคราะห์ภายในระยะเวลา 15 วัน ก่อนวันประกาศผลการดำเนินงานรายไตรมาสหรือรายปีของบริษัท.
8. งดเว้นการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วงเวลาห้ามการซื้อขายหลักทรัพย์ (Blackout Period).

  • ข้อมูลสำคัญทางการเงิน
  • งบการเงิน

ปี 2566

ปี 2565

ปี 2564

ปี 2563

งบกำไรขาดทุน (ล้านบาท)
รายได้จากการขายและบริการ

90,598.94

102,117.25

78,603.77

55,123.61

รายได้รวม

91,106.29

103,197.51

79,510.73

55,641.32

กำไรขั้นต้น

3,471.51

2,497.21

5,821.26

3,760.75

กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย

3,841.09

3,546.51

6,633.99

4,326.89

กำไร/(ขาดทุน) สุทธิ

1,041.25

1,104.75

3,903.74

2,100.44

กำไร/(ขาดทุน) สุทธิ (ส่วนของผู้เป็นเจ้าของบริษัทใหญ่)

1,017.59

1,070.21

3,808.51

2,061.84

งบแสดงฐานะทางการเงิน (ล้านบาท)
สินทรัพย์รวม

52,844.75

47,071.62

50,894.01

41,387.82

หนี้สินรวม

36,930.42

31,191.36

34,101.05

28,524.28

ส่วนของเจ้าของ

15,914.33

15,880.25

16,792.96

12,863.54

– ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท)

918.93

918.93

918.93

918.93

– ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว (ล้านบาท)

918.93

918.93

918.93

918.93

อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร (%)
อัตรากำไรขั้นต้น

3.83

2.45

7.41

6.82

อัตรากำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย

4.22

3.44

8.34

7.78

อัตรากำไรสุทธิ

1.14

1.07

4.91

3.77

อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA)

3.94

2.27

8.46

5.07

อัตราผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของ (ROE)

6.54

6.96

26.33

16.97

อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงิน (เท่า)
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน

1.31

1.14

1.17

1.39

อัตราส่วนเงินทุนหมุนเร็ว

0.70

0.68

0.48

0.78

อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (เท่า)
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของเจ้าของ

2.32

1.96

2.03

2.22

อัตราส่วนหนี้สินเฉพาะที่มีดอกเบี้ยต่อส่วนของเจ้าของ

1.49

1.13

1.13

1.35

หมายเหตุ : ข้อมูลข้างต้นอ้างอิงจากงบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4
งบการเงินประจำปี 2566 งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF
งบการเงินประจำปี 2565 งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF
งบการเงินประจำปี 2564 งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF
งบการเงินประจำปี 2563 งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF
งบการเงินประจำปี 2562 งบการเงินไตรมาส 1 - 2019.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 2 - 2019.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 3 - 2019.PDF Q4 งบการเงิน - 2019.PDF
งบการเงินประจำปี 2561 งบการเงินไตรมาส 1 - 2018.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 2 - 2018.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 3 - 2018.PDF Q4 งบการเงิน - 2018.PDF
งบการเงินประจำปี 2560 งบการเงินไตรมาส 1 - 2017.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 2 - 2017.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 3 - 2017.PDF Q4 งบการเงิน - 2017.PDF
งบการเงินประจำปี 2559 งบการเงินไตรมาส 1 - 2016.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 2 - 2016.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 3 - 2016.PDF Q4 งบการเงิน - 2016.PDF
งบการเงินประจำปี 2558 งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 2 - 2015.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 3 - 2015.PDF Q4 งบการเงิน - 2015.PDF
งบการเงินประจำปี 2557 งบการเงินไตรมาส 1 - 2014.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 2 - 2014.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 3 - 2014.PDF Q4 งบการเงิน - 2014.PDF
งบการเงินประจำปี 2556 งบการเงินไตรมาส 1 - 2013.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 2 - 2013.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 3 - 2013.PDF Q4 งบการเงิน - 2013.PDF
งบการเงินประจำปี 2555 งบการเงินไตรมาส 1 - 2012.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 2 - 2012.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 3 - 2012.PDF Q4 งบการเงิน - 2012.PDF
งบการเงินประจำปี 2554 งบการเงินไตรมาส 1 - 2011.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 2 - 2011.PDF งบการเงินไตรมาสที่ 3 - 2011.PDF Q4 งบการเงิน - 2011.PDF
  • ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
  • นโยบายการจ่ายเงินปันผล
  • การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
  • การเสนอ
    วาระประชุม
  • นายทะเบียนหลักทรัพย์
  • ผู้ถือหุ้นใหญ่
ผู้ถือหุ้นรายย่อย ณ วันที่ 14-03-2023
จำนวนผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free float) 6,322
% การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (% Free float) 16.09

 

ภาพรวมข้อมูลผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 14-03-2023 ประเภท : XM
จำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด 6,744
% การถือหุ้นแบบไร้ใบหุ้น 55.95

 

ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น % จำนวนหุ้น
1. บริษัท ดับบลิว ดับบลิว โฮลดิ้ง จำกัด 512,091,200 27.86
2. MITSUUROKO GROUP HOLDINGS CO., LTD. 311,869,500 16.97
3. นายวรวิทย์ วีรบวรพงศ์ 215,671,998 11.73
4. UOB KAY HIAN PRIVATE LIMITED 210,918,300 11.48
5. นายศุภชัย วีรบวรพงศ์ 102,782,000 5.59
6. นางพัชรา วีรบวรพงศ์ 100,000,000 5.44
7. น.ส.พัชราวดี วีรบวรพงศ์ 86,000,000 4.68
8. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 26,082,282 1.42
9. นายสุขจินต์ จึ่งสกุล 18,243,300 0.99
10. น.ส.วรางคณา กมลทิพย์ 15,003,000 0.82
  • นโยบายการจ่ายเงินปันผล

บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลของงบการเงินเฉพาะ, และหลังหักสำรองตามกฎหมาย. อย่างไรก็ตาม, บริษัทอาจกำหนดให้มีการจ่ายเงินปันผลในอัตราน้อยกว่าที่กำหนดข้างต้นได้ โดยขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงาน, ฐานะการเงิน, สภาพคล่อง ความจำเป็นในการใช้เงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน การขยายธุรกิจ และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการบริหารงานของบริษัท ตามที่คณะกรรมการบริษัท และ/หรือผู้ถือหุ้นของบริษัทเห็นสมควร.

ข้อมูลการจ่ายเงินปันผล

การจ่ายเงินปันผลที่สำคัญทางประวัติศาสตร์

รายละเอียดการจ่ายเงินปันผล

 

ปี รอบผลประกอบการ วันที่ขึ้นเครื่องหมาย วันที่จ่ายเงินปันผล เงินปันผล (บาท/หุ้น)
ปี 2565 1 ม.ค. – 30 มิ.ย.2565 25 ส.ค.2565 7 ก.ย. 2565 0.20
ปี 2564 1 ก.ค. – 31 ธ.ค. 2564 9 มี.ค.2565 17 พ.ค.2565 0.80
ปี 2564 1 ม.ค. – 30 มิ.ย.2564 25 ส.ค.2565 8 ก.ย.2564 0.20
ปี 2563 1 ก.ค. – 31 ธ.ค. 2563 29 เม.ย.2564 21 พ.ค.2564 0.40
ปี 2563 1 ม.ค. – 30 มิ.ย.2563 26 ส.ค.2563 8 ก.ย.2563 0.10
ปี 2562 1 ก.ค. – 31 ธ.ค.2562 3 มี.ค.2563 14 พ.ค.2563 0.25
ปี 2562 1 ม.ค. – 30 มิ.ย.2562 21 ส.ค.2562 5 ก.ย.2562 0.10
ปี 2561 1 ก.ค. – 31 ธ.ค.2561 7 มี.ค.2562 15 พ.ค.2562 0.20
ปี 2561 1 ม.ค. – 30 มิ.ย.2561 20 ส.ค.2561 5 ก.ย.2561 0.25
ปี 2560 1 ก.ค. – 31 ธ.ค.2560 8 มี.ค.2561 9 พ.ค.2560 1.00
ปี 2560 1 ม.ค. – 30 มิ.ย.2560 23 ส.ค.2560 7 ก.ย.2560 0.50
ปี 2559 1 ก.ค. – 31 ธ.ค.2559 7 มี.ค.2560 18 พ.ค.2560 0.35
ปี 2559 1 ม.ค. – 30 มิ.ย.2559 23 ส.ค.2559 8 ก.ย.2559 0.15
ปี 2558 1 ก.ค. – 31 ธ.ค.2558 8 มี.ค. 2559 17 พ.ค.2559 0.30
ปี 2558 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. 2558 20 ส.ค. 2558 3 ก.ย. 2558 0.20
ปี 2557 1 ก.ค. – 31 ธ.ค.2557 9 มี.ค. 2557 14 พ.ค. 2557 0.20
ปี 2557 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. 2557 20 ส.ค. 2557 4 ก.ย. 2557 0.15
ปี 2556 1 ก.ค. – 31 ธ.ค. 2556 6 มี.ค. 2557 15 พ.ค. 2557 0.50
ปี 2556 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. 2556 27 ส.ค. 2556 5 ก.ย. 2556 0.10
ปี 2555 1 ก.ค. – 31 ธ.ค. 2555 12 มี.ค. 2556 9 พ.ค. 2556 0.25
ปี 2555 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. 2555 28 ส.ค. 2555 10 ก.ย.2555 0.15
  • ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
  • เอกสารการประชุม

การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี

แจ้งกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2565 ในวันที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 14.00 ในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-AGM), โดยมีระเบียบวาระการประชุมดังต่อไปนี้

วาระที่ 1 : พิจารณารับรองรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566
วาระที่ 2 : พิจารณารับทราบผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ประจำปี 2566
วาระที่ 3 : พิจารณาอนุมัติงบการเงินสำหรับรอบปีบัญชี สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566
วาระที่ 4 : พิจารณาอนุมัติจัดสรรกำไรเพื่อจ่ายเงินปันผล
วาระที่ 5 : พิจารณาเลือกตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ต้องออกตามวาระ.
วาระที่ 6 : พิจารณากำหนดค่าตอบแทนของกรรมการประจำปี 2567
วาระที่ 7 : พิจารณาอนุมัติแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชีประจำปี 2567
วาระที่ 8 : พิจารณาอนุมัติแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 3 วัตถุประสงค์ของบริษัท

หนังสือเชิญประชุมและระเบียบวาระการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2567 งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1 รายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
สิ่งที่ส่งมาด้วย 2 รายงานประจำปี 2566 (แบบ 56-1 One Report) งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
สิ่งที่ส่งมาด้วย 3 ข้อมูลของกรรมการที่ครบกำหนดตามวาระ และได้รับการเสนอชื่อกลับเข้าดำรงตำแหน่งใหม่ งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
สิ่งที่ส่งมาด้วย 4 นิยามกรรมการอิสระ งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
สิ่งที่ส่งมาด้วย 5 ประวัติของผู้สอบบัญชีที่เสนอให้เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท สำหรับรอบปี 2567 งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
สิ่งที่ส่งมาด้วย 6 ข้อปฏิบัติสำหรับการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-AGM) และการมอบฉันทะ งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
สิ่งที่ส่งมาด้วย 7 คู่มือผู้ใช้งานระบบ IR PLUS AGM ฉบับย่อ 2567 งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
สิ่งที่ส่งมาด้วย 8 แบบแจ้งการประชุม งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
สิ่งที่ส่งมาด้วย 9.1 หนังสือมอบฉันทะ (แบบ ก.) งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
สิ่งที่ส่งมาด้วย 9.2 หนังสือมอบฉันทะ (แบบ ข.) งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
สิ่งที่ส่งมาด้วย 9.3 หนังสือมอบฉันทะ (แบบ ค.) งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
สิ่งที่ส่งมาด้วย 10 ข้อบังคับของบริษัทในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผู้ถือหุ้น งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
สิ่งที่ส่งมาด้วย 11 ประวัติกรรมการอิสระที่บริษัทเสนอเป็นผู้รับมอบฉันทะ งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
สิ่งที่ส่งมาด้วย 12 แบบขอรับรายงานประจำปี 2566 ในแบบรูปเล่ม งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
สิ่งที่ส่งมาด้วย 13 แบบการส่งคำถามล่วงหน้าก่อนการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น งบการเงินไตรมาส 1 - 2015.PDF
ปี 2567 ปี 2566 ปี 2565 ปี 2564
หนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี .PDF .PDF .PDF .PDF
รายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี .PDF .PDF .PDF
  • เอกสารการประชุม
แบบเสนอวาระการประชุมและเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการบริษัท ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 งบการเงินไตรมาส 1 - 2016.PDF

บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด

93 ถนนรัชดาภิเษก, ดินแดง, กรุงเทพมหานคร 10400, ประเทศไทย

Tel: (66 2) 009 9000

Fax: (66 2) 009 9991

SET Contact Center : (66 2) 009 9999

เว๊ปไซต์: http://www.set.or.th/tsd

อีเมล์: SETContactCenter@set.or.th

 

Office Hours for TSD Counter Service

อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8.30 – 17.00

ปิดให้บริการในวันเสาร์, อาทิตย์ & วันหยุดตามประกาศ ธปท.

  • ข้อมูลหุ้นกู้
  • อันดับเครดิต
  • นายทะเบียนหลักทรัพย์
  • หุ้นกู้
ชื่อย่อ วันที่ออก วันครบกำหนด มูลค่าที่ออก (ล้านบาท) มูลค่าปัจจุบัน (ล้านบาท) อายุ ประเภท วันที่ลงทะเบียน อันดับเครดิต
SGP262A PO 26-ม.ค.65 24-ก.พ.-69 4,000.00 4,000.00 4.08 ปี ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกัน 26-ม.ค.65 BBB+
SGP272A PO 24-ก.พ.66 24-ก.พ.70 4,000.00 4,000.00 4.00 ปี ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกัน 24-ก.พ.66 BBB+
SGP282A PO 19-ธ.ค.66 19-ก.พ.71 1,728.00 1,728.00 4.17 ปี ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกัน 19-ธ.ค.66 BBB+
SGP269A PO 19-ธ.ค.66 19-ธ.ค.69 2,000.00 2,000.00 2.75 ปี ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกัน 19-ธ.ค.66 BBB+
  • อันดับเครดิต
ปี ประเภทของอันดับเครดิต สถาบันจัดอันดับ อันดับเครดิต แนวโน้มอันดับเครดิต ดาวน์โหลด
30 มิ.ย.2566 ตราสารองค์กร+ตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB+,ฺBBB+,A,A+ ลบ .PDF
16 ธ.ค.2565 อันดับเครดิตตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB+ คงที่ .PDF
29 มิ.ย.2565 ตราสารองค์กร+ตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB+,ฺBBB+,A,A+ คงที่ .PDF
19 พ.ย.2564 อันดับเครดิตตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB+ คงที่ .PDF
30 มิ.ย.2564 ตราสารองค์กร+ตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB+,ฺBBB+,A,A+ คงที่ .PDF
29 มิ.ย.2563 ตราสารองค์กร+ตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB+,A,A+ คงที่ .PDF
4 ธ.ค.2562 อันดับเครดิตตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB+ คงที่ .PDF
12 มิ.ย.2562 ตราสารองค์กร+ตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB+,A,A+ คงที่ .PDF
21 ธ.ค.2561 อันดับเครดิตตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB+ คงที่ .PDF
15 พ.ย.2560 อันดับเครดิตตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง A คงที่ .PDF
17 พ.ค.2560 ตราสารองค์กร+ตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB+,A+ คงที่ .PDF
5 ก.พ.2560 อันดับเครดิตตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง A คงที่ .PDF
12 พ.ค.2560 อันดับเครดิตองค์กร บจก.ทริสเรทติ้ง BBB คงที่ .PDF
23 ธ.ค.2559 อันดับเครดิตตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB คงที่ .PDF
3 พ.ค.2559 อันดับเครดิตองค์กร บจก.ทริสเรทติ้ง BBB คงที่ .PDF
24 ธ.ค.2558 อันดับเครดิตตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB คงที่ .PDF
25 ธ.ค.2557 อันดับเครดิตตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB คงที่ .PDF
20 พ.ย.2557 อันดับเครดิตตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB คงที่ .PDF
10 ม.ค.2557 อันดับเครดิตตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB คงที่ .PDF
28 พ.ย.2556 อันดับเครดิตตราสารหนี้ บจก.ทริสเรทติ้ง BBB คงที่ .PDF
11 ก.ย.2555 อันดับเครดิตองค์กร บจก.ทริสเรทติ้ง BBB คงที่ .PDF
26 ม.ค.2555 อันดับเครดิตองค์กร บจก.ทริสเรทติ้ง BBB+ คงที่ .PDF
21 พ.ย.2554 อันดับเครดิตองค์กร บจก.ทริสเรทติ้ง BBB+ คงที่ .PDF
  • นายทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้
  • ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 02-296-5999 SGP262A,SGP272A,SGP282A,SGP269A
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 02-296-5999 SGP262A,SGP272A,SGP282A,SGP269A
  • รายงานแจ้งตลาดหลักทรัพย์
  • รายงานประจำปี
  • แบบแสดงข้อมูล 56-1
  • ข้อมูลนำเสนอนักลงทุน
  • บทวิเคราะห์หลักทรัพย์
  • 2024
  • 2023
  • 2022
  • 2021
  • 2020
  • 2019
  • 2018
  • 2017
  • 2016
วันที่ รายการ ดาวน์โหลด
20 ก.พ.2567 สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ประจำปี (F45) (ตรวจสอบแล้ว) .PDF
20 ก.พ.2567 แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ .PDF
20 ก.พ.2567 การจ่ายเงินปันผล และการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 .PDF
20 ก.พ.2567 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.2566 .PDF
20 ก.พ.2567 งบการเงิน ประจำปี 2566 (ตรวจสอบแล้ว) .PDF
3 ม.ค.2567 แจ้งผลการให้สิทธิผู้ถือหุ้นเสนอระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นและเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทล่วงหน้า .PDF
วันที่ รายการ ดาวน์โหลด
20 ธ.ค.2566 การจัดตั้งบริษัทย่อย .PDF
15 พ.ย.2566 แจ้งวันหยุดตามประเพณีประจำปี 2567 ของบริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) .PDF
15 พ.ย.2566 ขอเชิญผู้ถือหุ้นเสนอระเบียบวาระการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 และเสนอชื่อบุคคลผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อเข้ารับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทล่วงหน้า .PDF
14 พ.ย.2566 การเพิ่มทุนในบริษัทย่อย .PDF
7 พ.ย.2566 สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ไตรมาสที่ 3 (F45) (สอบทานแล้ว) .PDF
7 พ.ย.2566 คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.2566 .PDF
7 พ.ย.2566 งบการเงินไตรมาสที่ 3/2023 (สอบทานแล้ว) .PDF
10 ส.ค.2566 คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.2566 .PDF
10 ส.ค.2566 สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ไตรมาสที่ 2 (F45) (สอบทานแล้ว) .PDF
10 ส.ค.2566 การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล .PDF
10 ส.ค.2566 งบการเงินไตรมาสที่ 2/2023 (สอบทานแล้ว) .PDF
2 ส.ค.2566 แจ้งผู้บริหารเกษียณอายุ .PDF
2 ส.ค.2566 การแต่งตั้งผู้บริหารของบริษัท. .PDF
10 พ.ค.2566 คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.2566 .PDF
10 พ.ค.2566 งบการเงินไตรมาสที่ 1/2023 (สอบทานแล้ว) .PDF
10 พ.ค.2566 สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ไตรมาสที่ 1 (F45) (สอบทานแล้ว) .PDF
8 พ.ค.2566 การเผยแพร่รายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 .PDF
26 เม.ย.2566 มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น .PDF
30 มี.ค.2566 การเผยแพร่หนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้น’ ประจำปี 2566 .PDF
24 ก.พ.2566 การจ่ายเงินปันผลและกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 .PDF
24 ก.พ.2566 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.2565 .PDF
24 ก.พ.2566 สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ประจำปี (F45) (ตรวจสอบแล้ว) .PDF
24 ก.พ.2566 งบการเงิน ประจำปี 2565 (ตรวจสอบแล้ว) .PDF
3 ม.ค.2566 แจ้งผลการให้สิทธิผู้ถือหุ้นเสนอระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นและเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทล่วงหน้า. .PDF
วันที่ รายการ ดาวน์โหลด
9 ธ.ค.2565 แจ้งวันหยุดตามประเพณีประจำปี 2566 ของบริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) .PDF
21 พ.ย.2565 ขอเชิญผู้ถือหุ้นเสนอระเบียบวาระการประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2566 และเสนอชื่อบุคคลผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อเข้ารับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทล่วงหน้า .PDF
8 พ.ย.2565 คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 2565 .PDF
8 พ.ย.2565 สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ไตรมาสที่ 3 (F45) (สอบทานแล้ว) .PDF
8 พ.ย.2565 งบการเงินไตรมาสที่ 3/2022 (สอบทานแล้ว) .PDF
5 ต.ค.2565 การเข้าซื้อหุ้นใน บริษัท ประสานสักแก๊ส. จำกัด. ผู้เดียว ซึ่งประกอบธุรกิจก๊าซ LPG ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. .PDF
9 ส.ค.2565 การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล .PDF
9 ส.ค.2565 คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2022 .PDF
9 ส.ค.2565 สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ไตรมาสที่ 2 (F45) (สอบทานแล้ว) .PDF
9 ส.ค.2565 งบการเงินไตรมาสที่ 2/2022 (สอบทานแล้ว) .PDF
18 พ.ค.2565 การเผยแพร่รายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2565 .PDF
11 พ.ค.2565 งบการเงินไตรมาสที่ 1/2022 (สอบทานแล้ว) .PDF
11 พ.ค.2565 สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ไตรมาสที่ 1 (F45) (สอบทานแล้ว) .PDF
11 พ.ค.2565 คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.2565 .PDF
22 เม.ย.2565 มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น .PDF
29 มี.ค.2565 การเผยแพร่หนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2565 .PDF
22 ก.พ.2565 สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ประจำปี (F45) (ตรวจสอบแล้ว) .PDF
22 ก.พ.2565 การจ่ายเงินปันผลและกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2565 .PDF
22 ก.พ.2565 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2564 .PDF
22 ก.พ.2565 งบการเงิน ประจำปี 2564 (ตรวจสอบแล้ว) .PDF
11 ก.พ.2565 การจัดตั้งบริษัทย่อย .PDF
วันที่ รายการ ดาวน์โหลด
1 ธ.ค.2564 แจ้งวันหยุดตามประเพณีประจำปี 2565 ของบริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) .PDF
9 พ.ย.2564 สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ไตรมาสที่ 3 (F45) (สอบทานแล้ว) .PDF
9 พ.ย.2564 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 3 สิ้นสุด 30 ก.ย.2564 .PDF
9 พ.ย.2564 งบการเงิน ไตรมาสที่ 3/2564 (สอบทานแล้ว) .PDF
19 ต.ค.2564 แจ้งเปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการประจำปี 2564 .PDF
10 ส.ค.2564 การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล .PDF
10 ส.ค.2564 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.2564 .PDF
10 ส.ค.2564 สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ไตรมาสที่ 2 (F45) (สอบทานแล้ว) .PDF
10 ส.ค.2564 งบการเงิน ไตรมาสที่ 2/2564 (สอบทานแล้ว) .PDF
12 พ.ค.2564 สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ไตรมาสที่ 1 (F45) (สอบทานแล้ว) .PDF
12 พ.ค.2564 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.2564 .PDF
12 พ.ค.2564 งบการเงิน ไตรมาสที่ 1/2564 (สอบทานแล้ว) .PDF
6 พ.ค.2564 การเผยแพร่รายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2564 .PDF
22 เม.ย.2564 มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น .PDF
19 เม.ย.2564 เพิ่มมาตรการในการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นภายในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค COVID-19 .PDF
26 มี.ค.2564 การเผยแพร่หนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2564 .PDF
24 ก.พ.2564 สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ประจำปี (F45) (ตรวจสอบแล้ว) .PDF
24 ก.พ.2564 แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ .PDF
24 ก.พ.2564 การจ่ายเงินปันผลและกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2564 .PDF
24 ก.พ.2564 งบการเงิน ประจำปี 2563 (ตรวจสอบแล้ว) .PDF
24 ก.พ.2564 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2563 .PDF
20 ม.ค. 2564 “การปลด” เครื่องหมาย H .PDF
20 ม.ค. 2564 ขี้แจงเรื่องการซื้อขายรายใหญ่ (Big Lot) จำนวน 25% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด .PDF
20 ม.ค. 2564 การขึ้นเครื่องหมาย "H" หลักทรัพย์บริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) “SGP” .PDF
13 ม.ค. 2564 การเข้าซื้อหุ้นใน บริษัท ชื่นศิริ จำกัด เพิ่มเติม .PDF
วันที่ รายการ ดาวน์โหลด
26 พ.ย. 2563 แจ้งวันหยุดตามประเพณีประจำปี 2564 ของบริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) .PDF
11 พ.ย. 2563 สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ไตรมาสที่ 3 (F45) (สอบทานแล้ว) .PDF
11 พ.ย. 2563 คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.2563 .PDF
11 พ.ย. 2563 งบการเงินไตรมาสที่ 3/2020 (สอบทานแล้ว) .PDF
25 ก.ย. 2563 แจ้งสิ้นสุดโครงการซื้อหุ้นคืนกรณีเพื่อการบริหารทางการเงิน (Treasury Stock) .PDF
25 ส.ค. 2563 กำหนดวันหยุดชดเชยเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2563 .PDF
11 ส.ค. 2563 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.2563 .PDF
11 ส.ค. 2563 งบการเงิน ไตรมาสที่ 2/2563 (สอบทานแล้ว) .PDF
11 ส.ค. 2563 สรุปผลการดำเนินงานของ บจ. ไตรมาสที่ 2 (F45) (สอบทานแล้ว) .PDF
11 ส.ค. 2563 อนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล .PDF
7 ส.ค. 2563 การเข้าซื้อหุ้นใน บริษัท ชื่นศิริ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตถังก๊าซ LPG .PDF
22 ก.ค. 2563 มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น .PDF
10 ก.ค. 2563 กำหนดวันหยุดชดเชยเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2563 .PDF
29 มิ.ย. 2563 การจัดตั้งบริษัทย่อยทางอ้อม .PDF
22 มิ.ย. 2563 การเผยแพร่หนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 .PDF
8 มิ.ย. 2563 แจ้งกำหนดวันและระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 .PDF
15 พ.ค. 2563 สรุปผลการดำเนินงานของบจ. ไตรมาสที่ 1 (F45) (แก้ไข) .PDF
14 พ.ค. 2563 รายการเกี่ยวโยงกันในการทำสัญญาเช่าพื้นที่สำนักงาน .PDF
14 พ.ค. 2563 สรุปผลการดำเนินงานของบจ. ไตรมาสที่ 1 (F45) .PDF
14 พ.ค. 2563 คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.2563 .PDF
14 พ.ค. 2563 งบการเงินไตรมาสที่ 1/2563 (สอบทานแล้ว) .PDF
12 พ.ค. 2563 การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี .PDF
31 มี.ค. 2563 การอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล .PDF
31 มี.ค. 2563 การเลื่อนการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 และการอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล .PDF
13 มี.ค. 2563 แจ้งมติกรรมการเกี่ยวกับโครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน .PDF
25 ก.พ. 2563 การเปลี่ยนชื่อบริษัทย่อยทางอ้อม .PDF
19 ก.พ. 2563 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.2562 .PDF
19 ก.พ. 2563 งบการเงินรายปี 2562 (ตรวจสอบแล้ว) .PDF
18 ก.พ. 2563 การจ่ายเงินปันผลและการ 2020 การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี .PDF
18 ก.พ. 2563 สรุปผลการดำเนินงานของบจ. ประจำปี (F45) .PDF
18 ก.พ. 2563 การแต่งตั้งกรรมการ .PDF
21 ม.ค. 2563 การเข้าถือหุ้นใน บริษัท ไทยพับลิคพอร์ต . จำกัด. (“TPP”) .PDF
วันที่ รายการ ดาวน์โหลด
20 ธ.ค. 2562 แจ้งวันหยุดตามประเพณีประจำปี 2563 ของบริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) .PDF
8 พ.ย. 2562 สรุปผลการดำเนินงานของบจ. ไตรมาสที่ 3 (F45) .PDF
8 พ.ย. 2562 คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.2562 .PDF
8 พ.ย. 2562 งบการเงินไตรมาสที่ 3/2562 (สอบทานแล้ว) .PDF
18 ต.ค. 2562 สารสนเทศการเข้าซื้อหุ้นคลังน้ำมันและท่าเรือ โดยบริษัทย่อย (เพิ่มเติม) .PDF
16 ต.ค. 2562 สารสนเทศการเข้าซื้อหุ้นคลังน้ำมันและท่าเรือ โดยบริษัทย่อย .PDF
7 ส.ค. 2562 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 2 (F45-3) .PDF
7 ส.ค. 2562 การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล .PDF
7 ส.ค. 2562 คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.2562 .PDF
7 ส.ค. 2562 งบการเงินไตรมาสที่ 2/2562 (สอบทานแล้ว) .PDF
25 มิ.ย. 2562 แจ้งกรรมการลาออก .PDF
18 มิ.ย. 2562 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้น .PDF
30 พ.ค. 2562 แจ้งเพิ่มเติมวันหยุดตามประเพณีประจำปี 2562 .PDF
9 พ.ค. 2562 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 1 (F45-3) .PDF
9 พ.ค. 2562 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.2562 .PDF
9 พ.ค. 2562 งบการเงินไตรมาสที่ 1/2562 (สอบทานแล้ว) .PDF
25 เม.ย. 2562 มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น .PDF
18 เม.ย. 2562 แจ้งวันหยุดประจำปี 2562 ของบริษัทเพิ่มเติม .PDF
22 ก.พ. 2562 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2561(แก้ไข template) .PDF
22 ก.พ. 2562 การจ่ายเงินปันผลและกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562(แก้ไข) .PDF
21 ก.พ. 2562 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ประจำปี (F45-3) .PDF
21 ก.พ. 2562 การจ่ายเงินปันผลและกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2562 .PDF
21 ก.พ. 2562 ชี้แจงผลการดำเนินงาน ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค.2561 .PDF
21 ก.พ. 2562 งบการเงินรายปี 2561 (ตรวจสอบแล้ว) .PDF
วันที่ รายการ ดาวน์โหลด
25 ธ.ค. 2561 การเข้าซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าในประเทศเมียนมา(เพิ่มเติม)จากผู้ถือหุ้นเดิม .PDF
18 ธ.ค. 2561 แจ้งวันหยุดตามประเพณีประจำปี 2562 ของบริษัทฯ .PDF
6 พ.ย. 2561 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 3 (F45-3) .PDF
6 พ.ย. 2561 งบการเงินไตรมาสที่ 3/2018 (สอบทานแล้ว) .PDF
6 พ.ย. 2561 คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 2018 .PDF
7 ส.ค. 2561 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 2 (F45-3) .PDF
7 ส.ค. 2561 การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล .PDF
7 ส.ค. 2561 คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2018 .PDF
7 ส.ค. 2561 งบการเงินไตรมาสที่ 2/2018 (สอบทานแล้ว) .PDF
25 มิ.ย. 2561 การจัดตั้งบริษัทย่อยทางอ้อม .PDF
14 พ.ค. 2561 การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ของ SGP .PDF
11 พ.ค. 2561 การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ของบริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จากัด (มหาชน) .PDF
8 พ.ค. 2561 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 1 (F45-3) .PDF
8 พ.ค. 2561 การจัดตั้งบริษัทย่อย .PDF
8 พ.ค. 2561 รายการเกี่ยวโยงกันในการทำสัญญาเช่าพื้นที่สำนักงาน .PDF
8 พ.ค. 2561 งบการเงินไตรมาสที่ 1/2018 (สอบทานแล้ว) .PDF
8 พ.ค. 2561 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.2561 .PDF
27 เม.ย. 2561 มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น .PDF
13 มี.ค. 2561 แจ้งการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการเป็นผู้จัดหาและจัดส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) .PDF
22 ก.พ. 2561 การจ่ายเงินปันผลและกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2018 (แก้ไข) .PDF
22 ก.พ. 2561 การจ่ายเงินปันผลและกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2018 .PDF
22 ก.พ. 2561 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2017 .PDF
22 ก.พ. 2561 การจ่ายเงินปันผลและการ 2018 การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี .PDF
22 ก.พ. 2561 แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ(F24-1) .PDF
22 ก.พ. 2561 การจัดตั้งบริษัทร่วมทุน .PDF
22 ก.พ. 2561 การเพิ่มทุนในบริษัทย่อย .PDF
22 ก.พ. 2561 การเช้าถือหุ้นในธุรกิจโฟฟ้าเพิ่มเติม .PDF
22 ก.พ. 2561 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ประจำปี (F45-3) .PDF
22 ก.พ. 2561 งบการเงินประจำปี 2017 (Audited) .PDF
วันที่ รายการ ดาวน์โหลด
8 พ.ย. 2560 งบการเงินไตรมาสที่ 3/2560 (สอบทานแล้ว) .PDF
8 พ.ย. 2560 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 3 (F45-3) .PDF
8 พ.ย. 2560 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.2560 .PDF
8 พ.ย. 2560 การเข้าซื้อหุ้นโรงไฟฟ้าในประเทศเมียนมา(เพิ่มเติม)จากผู้ถือหุ้นเดิม .PDF
21 ก.ย. 2560 การเพิ่มทุนในบริษัทย่อย .PDF
21 ก.ย. 2560 แจ้งเพิ่มวันหยุดตามประเพณีประจำปี 2560 .PDF
4 ก.ย. 2560 การจัดตั้งบริษัทร่วมทุน .PDF
10 ส.ค. 2560 งบการเงินไตรมาสที่ 2/2560 (สอบทานแล้ว) .PDF
10 ส.ค. 2560 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 2 (F45-3) .PDF
10 ส.ค. 2560 ชี้แจงผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.2560 .PDF
10 ส.ค. 2560 การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล .PDF
18 ก.ค. 2560 สารสนเทศการซื้อเรือบรรทุกก๊าซปิโตรเลียมเหลว .PDF
14 มิ.ย. 2560 การเข้าถือหุ้นใน MYANMAR LIGHTING (IPP) CO. LTD. .PDF
11 พ.ค. 2560 งบการเงินไตรมาสที่ 1/2560 (สอบทานแล้ว) .PDF
11 พ.ค. 2560 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 1 (F45-3) .PDF
11 พ.ค. 2560 ชี้แจงผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.2560 .PDF
11 พ.ค. 2560 การแต่งตั้งกรรมการ .PDF
2 พ.ค. 2560 แจ้งเปลี่ยนแปลงวันหยุดตามประเพณีประจำปี 2560 .PDF
21 เม.ย. 2560 แจ้งมติการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2560 .PDF
14 มี.ค. 2560 การเสียชีวิตของกรรมการ .PDF
23 ก.พ. 2560 การจ่ายเงินปันผลและกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2560 (แก้ไข) .PDF
23 ก.พ. 2560 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ประจำปี (F45-3) แก้ไข .PDF
22 ก.พ. 2560 งบการเงินรายปี 2559 (ตรวจสอบแล้ว) .PDF
22 ก.พ. 2560 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ประจำปี (F45-3) .PDF
22 ก.พ. 2560 การจ่ายเงินปันผลและกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้น 2560 .PDF
22 ก.พ. 2560 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2016 .PDF
วันที่ รายการ ดาวน์โหลด
19 ธ.ค. 2559 กำหนดวันหยุดตามประเพณีประจำปี 2560 ของบมจ. สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์. สำหรับปี 2560 .PDF
14 พ.ย. 2559 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 3 (F45-3) .PDF
14 พ.ย. 2559 คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 2559 .PDF
14 พ.ย. 2559 งบการเงินไตรมาสที่ 3-2016 .PDF
14 พ.ย. 2559 เปลี่ยนการกําหนดขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ .PDF
9 พ.ย. 2559 การจัดตั้งบริษัทย่อย .PDF
10 ส.ค. 2559 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 2 (F45-3) .PDF
10 ส.ค. 2559 การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล .PDF
10 ส.ค. 2559 คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการประจำไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 2559 .PDF
10 ส.ค. 2559 งบการเงินไตรมาสที่ 2-2016 .PDF
2 ส.ค. 2559 สารสนเทศการซื้อเรือบรรทุกก๊าซปิโตรเลียมเหลว .PDF
20 ก.ค. 2559 สารสนเทศการเข้าซื้อหุ้นโรงไฟฟ้า ประเทศเมียร์มาร์ โดยบริษัทย่อย (แก้ไข) .PDF
20 ก.ค. 2559 การจัดตั้งบริษัทย่อยของบริษัท .PDF
20 ก.ค. 2559 สารสนเทศการเข้าซื้อหุ้นโรงไฟฟ้า ประเทศเมียร์มาร์ โดยบริษัทย่อย .PDF
12 พ.ค. 2559 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 1-2016 (F45-3) .PDF
12 พ.ค. 2559 แจ้งการลาออกของประธานกรรมการบริษัทและการแต่งตั้งประธานกรรมการบริษัท .PDF
12 พ.ค. 2559 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2559 .PDF
12 พ.ค. 2559 งบการเงินไตรมาสที่ 1/2016 .PDF
27 เม.ย. 2559 การเพิ่มทุนในบริษัทย่อย .PDF
22 เม.ย. 2559 แจ้งมติการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2559 .PDF
25 ก.พ. 2559 การจ่ายเงินปันผลและกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2559 แก้ไข .PDF
25 ก.พ. 2559 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ประจำปี (F45-3) แก้ไข .PDF
25 ก.พ. 2559 งบการเงินรายปี 2558 แก้ไข .PDF
25 ก.พ. 2559 สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อย ประจำปี (F45-3) .PDF
25 ก.พ. 2559 การจ่ายเงินปันผลและกำหนดวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2559 .PDF
25 ก.พ. 2559 คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2558 .PDF
21 ม.ค. 2559 การเพิ่มทุนในบริษัทย่อย .PDF

 

  • รายงานประจำปี
ดาวน์โหลด
รายงานประจำปี-2560 .PDF
รายงานประจำปี-2561 .PDF
รายงานประจำปี-2562 .PDF
รายงานประจำปี-2563 .PDF
รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) 2564 .PDF
รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) 2565 .PDF
รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) 2566 .PDF
  • sec filling (56-1)
ดาวน์โหลด
แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2560 .PDF
แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2561 .PDF
แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2562 .PDF
แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2563 .PDF
  • การนำเสนอนักลงทุน
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4
ข้อมูลนำเสนอนักลงทุน ปี 2560 .PDF .PDF .PDF .PDF
ข้อมูลนำเสนอนักลงทุน ปี 2561 .PDF .PDF .PDF .PDF
ข้อมูลนำเสนอนักลงทุน ปี 2562 .PDF .PDF .PDF .PDF
ข้อมูลนำเสนอนักลงทุน ปี 2563 .PDF .PDF .PDF .PDF
ข้อมูลนำเสนอนักลงทุน ปี 2564 .PDF .PDF .PDF .PDF
ข้อมูลนำเสนอนักลงทุน ปี 2565 .PDF .PDF .PDF .PDF
ข้อมูลนำเสนอนักลงทุน ปี 2566 .PDF .PDF .PDF .PDF
  • บทวิเคราะห์
วันที่ ดาวน์โหลด
5 ก.ค. 2016 บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน). .PDF
24 มี.ค. 2016 บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน). .PDF
10 มี.ค. 2016 บริษัท หลักทรัพย์ธนชาต จำกัด (มหาชน). .PDF
11 มี.ค. 2016 บริษัท หลักทรัพย์ธนชาต จำกัด (มหาชน). .PDF
  • ความยั่งยืน
  • เศรษฐกิจ
  • สังคม
  • สิ่งแวดล้อม
  • รายงานความยั่งยืน
  • นโยบายด้านความยั่งยืน
  • การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

นโยบายด้านความยั่งยืน

กลุ่มบริษัทสยามแก๊ส (“บริษัทฯ”) จัดทำรายงานความยั่งยืน เพื่อเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน และบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการบริหารจัดการผลการดำเนินงานตามแผนด้านความยั่งยืน (ESG) ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ (Economic), สิ่งแวดล้อม, สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance). ซึ่งสอดคล้องกับ, พันธกิจขององค์กร และเป็นไปตามมาตรฐานการจัดทำรายงานของ Global Reporting Initiatives Standards 2021 Updated (GRI Standards 2021) ในระดับตัวชี้วัดหลัก (Core) และเชื่อมโยงผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ.

ดาวน์โหลด
นโยบายการพัฒนาด้านความยั่งยืน .PDF

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

กลุ่มบริษัทสยามแก๊ส (“บริษัทฯ”) ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ (Value Chain) โดยตระหนักถึงความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และมุ่งมั่นในการตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล. โดยระบุและวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่า ระบุประเด็น, ความคาดหวัง และข้อกังวลในด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางในการดำเนินงานที่เหมาะสมสำหรับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม.

ดาวน์โหลด
การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน 2565 .PDF
การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน 2564 .PDF
  • เศรษฐกิจ

ดาวน์โหลด
จรรยาบรรณ นโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านภาษี .PDF
นโยบายบริหารความเสี่ยง .PDF
แผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤตในการดำเนินงาน .PDF
นโยบายการจัดหาและคัดเลือกคู่ค้า .PDF
จรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ .PDF
  • สังคม

ดาวน์โหลด
การดูแลและรักษาพนักงาน .PDF
การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และความปลอดภัย .PDF
การพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมความก้าวหน้าของพนักงาน .PDF
การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม .PDF
นโยบายสิทธิมนุษยชน .PDF
นโยบายและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน .PDF
  • สิ่งแวดล้อม

ดาวน์โหลด
นโยบายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ .PDF
  • รายงานความยั่งยืน

ดาวน์โหลด
รายงานความยั่งยืน 2565 .PDF
รายงานความยั่งยืน 2564 .PDF